วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

แนวคิการจะเพิ่มการลงโทษรุนแรง กรณีอุบัติเหตุทางถนน โดยที่เราคิดเพียงว่าไปว่าจะเกิดความกลัวที่จะไม่ทำผิด โดยจะมีตัวอย่างของคนที่ได้รับโทษรุนแรงเป็นตัวอย่างปรากฏให้เห็นในสังคมการขับขี่รถยนต์ มันสั่นสะเทือนใจให้กลัวได้แน่นอน แต่ได้ผลน้อยมากที่จะทำให้เกรงกลัวที่จะทำการละเมิดความปลอดภัยบนท่้องถนน

แนวทางที่ควรจะแก้ไขคือ เพิ่มช่องทางหรือเพิ่มโอกาสให้ความยุติธรรมแผ่ไปทุกถนนและทุกช่วงเวลาที่อยู่บนท้องถนน และประสานกับสารสนเทศคุณลักษณะประจำตัวทั้งรถยนต์และผู้ขับขี่ เรียกว่ายอมรับความยุติธรรมให้แผ่ครอบคลุมทุกเส้นทางทุกถนน

1.  เพิ่มช่องทางหรือเพิ่มโอกาสให้ความยุติธรรมแผ่ไปทุกถนนและทุกช่วงเวลาที่อยู่บนท้องถนน ดำเนินการภายใต้ปฏิบัติการ 3 ประการ คือ

1.1 การบังคับใช้ด้วยยความรวดเร็ว ซึ่งต้องใช้ ICT เข้ามาดำเนินการเป็นตัวช่วย โดยเฉพาะให้อำนาจให้กับ อปท.ในการดำเนินงาน ซึ่งต้องมีการปรับปรุงระเบียบกฎหมายให้ดำเนินงานได้

1.2 ความแน่นอนในการบังคับใช้กฎหมาย เมื่อเกิดการละเลยเพิกเฉยขึ้น ต้องไม่ยอมให้เกิดการสร้างความเป็นอื่นให้กับกฎระเบียบที่บังคับใช้บนท้องถนน จำเป็นต้องพัฒนากลไกการตรวจสอบควบคุมการละเมิดความปลอดภัยให้เข้มแข็งเพื่อจะได้เร่งเร้าทวงถามความรับผิดชอบจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ

1.3 ความเคร่งครัด จะได้ช่วยลดความรู้สึกของผู้ใช้รถใช้ถนนว่ามีบางช่วง บางโอกาส บางลักษณะเท่านั้นที่จะ

2. สารสนเทศคุณลักษณะประจำตัวทั้งรถยนต์และผู้ขับขี่

2.1 เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งคนและรถยนต์ที่ละเมิดกฎหมาย  ต้องเพิ่มภาษีจากปกติตามความรุนแรงที่กระทำผิด เพิ่มเบี้ยประกันสังคมมากขึ้นซึ่งต้องมีการเชื่อมข้อมูล 3-4 หน่วยงาน  เมื่อมีความเสี่ยงจะก่อให้เกิดมูลค่าความเสียหายต่อเศรษฐกิจและสังคมมากกว่าคนอื่นต้องเสียภาษีมากกว่า

2.2 มาตรการควบคุมด้านใบอนุญาตขับขี่  ทั้งเพิกถอน (มีอยู่แล้ว)  อบรมทุกปี  ทดสอบใหม่ทุก 3 ปี เป็นต้น

จากแนวทางทั้ง 2  เป็นการสร้างความยุติธรรมให้มีอยู่ทุกท้องถนน แต่คาดว่าคง อีกสัก 100 ปี คงได้เห็น รอให้ข้าราชการที่ทึกทักเอาว่าปกครองนั้นลาลงโลงก่อน  ความเจริญก้าวหน้าซุกอยู่ขี้บนบ่า

———————-////////////////———————–