วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

คุณภาพของนักจัดการภัยพิบัติตัวยงแห่งยุคเกวียน 2020 พอจะอธิบายให้กระจ่างพอเข้าใจได้ ด้วยการสาธยายอยู่ 2 ข้อ คือ

1. การตัดสินใจมักยึดติดอยู่กับวิธีคิดแบบเดิมๆ ที่มีลักษณะเป็นเส้นตรง (และไม่พลิกแพลง) มากเกินไป

2. ส่วนใหญ่ร้อยละ 99.9 หมกมุ่นอยู่กับปัญหาเร่งด่วนเฉพาะหน้าจนไม่ได้คิดอย่างมีกลยุทธ์ แสดงศักยภาพที่มีพลังแห่งการผลิกผันและนวัตกรรมที่กำลังก่อร้างสร้างรูปอนาคตที่ปลอดภัยพิบัติ

ตามที่สาธยายข้างต้น แทนที่จะสร้างสรรค์ แต่หลายเหตุการณ์ได้ข้อสรุปที่ค่อนข้างจะพูดได้เต็มปากว่า “สร้างต้นทุนแฝงในรูปของผลกระทบหลากหลาย”และก็จะคงอิทธิพลต่อไปอีก 20 ปี  ที่ปรสิตตัวนี้จะค่อยๆ ปรับปรุงพัฒนาสายพันธ์ุ

และใน 20 ปีข้างหน้านั้น คงไม่ใช่ประชาชนในอาณานิคมของพวกเขา หรือต่อมสำนึกทำงานอย่างพิสดารแต่อย่างใด ทั้งนี้ เพราะในอาณานิคมของพวกเขาเกิดภาวะไม่แน่นอนอย่างยิ่ง พร้อมๆ กับการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ

1. ที่ทำให้ Big data ของพวกเขากลายเป็นสิ่งที่น่าขบขัน เมื่อเทียบกับพลังแห่งการประมวลผลที่ไม่เคยมีมาก่อนที่เกิดจากคนหลายพันล้านคนเชื่อมต่อกันด้วยอุปกรณืพกพา

2. เมื่อสถานะองค์กรเต่า จะเป็นภาพลักษณ์ที่ผลักดันให้จะต้องปรับปรุง ในเมื่อผู้คนในอาณานิคมเข้าถึงข้อมูลเข้าถึงความรู้  การหาข้อมูลเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและมีระบบการบริโภคที่ชี้รวมให้เห็นศักยภาพที่รวดเร็วแบบทวีคูณ

———————-//////////////—————————