เราจะดูยังไงว่าสังคมพวกเรามีความตระหนักถึงอันตรายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ด้วยว่าสังคมทั้งหลายมิได้หยุดนิ่งอยู่กับที่ แต่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและตามแรงกระตุ้นต่างๆ ดังนั้น หากสังคมเราถูกกระตุ้นจากสภาพภูมิอกาศ จนต้องอยู่เฉยไม่ได้ เราจะเห็นสังคมนั้นมีการแสดงออกใน 2 รูปแบบสำคัญ ดังนี้
1. มีการประเมินว่าสภาพภูมิอากาศในลักษณะค่างหรือมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร และการเปลี่ยนแปลงนั้นส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
อุณหภูมิสูงขึ้น ฤดูกาลเปลี่ยนไป ไฟป่า นำ้ท่วม น้ำแล้ง ฯลฯ ลักษณะสภาพภูมิอากาศเป็นเช่นไร มีประวัติศาสตร์อย่างไร มีพลวัตอย่างไร จำเป็นที่เราต้องเรียนรู้ก็คือว่าผลพวงนี้เกิดขึ้นอย่างเลวร้ายขนาดไหน จะเกิดขึ้นในเร็ววันนี้หรือในเวลาใด มันส่งผลต่อทรัพยากรธรรมชาติอย่างไร และเราจะรับมือกับมันอย่างไร
ซึ่งในอนาคต เราอาจจะต้องปรับตัวในการพัฒนาพันธุ์พืชใหม่เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำสูงสุด
2. ตรวจสอบผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมของมนุษย์และระบบนิเวศ
ภัยธรรมชาติที่เราประสบไม่ได้เป็นผลพวงจากความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีความเกี่ยวเนื่องกับมิติทางสังคมด้วยและเป็นการผลิตทางสังคม (socially produced) และที่สำคัญ คนมีความเปราะบางเพิ่มขึ้นหรือมีความสามารถในการรับมือกับความผันแปรของธรรมชาติลดลง
ซึ่งในอนาคต เราอาจจะต้องปรับตัวในการมีมาตรฐานใหม่สำหรับการออกแบบโครงสร้างพื้นฐาน การใช้ประโยชน์จากวิธีการความร่วมมือระหว่างพื้นที่ การสร้างขีดความสามารถของสถาบัน/องค์กร (ไม่ใช่สร้างโดยทุ่มไปกับวัสดุอุปกรณ์ราคาสูงๆ เช่น บริษัท ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จำกัด ที่มีทั้งเฮลิคอปเตอร์ 6 ลำ รถดับเพลิงอาคารสูง 12 คัน ราคาหลายร้อยล้านบาท แต่ต้องมุ่งไปในแนวทางประเมิน และตรวจสอบ ซึ่งยังไงสังคมไทยก็ไม่มีวันได้รับอานิสงจากเงินเดือน ค่าตอบแทนประจำตำแหน่งที่เราต้องแบกภาระ) และการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมการกำหนดนโยบายซึ่งกิจกรรมการปรับตัวอื่น ๆ
——————————-