วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

เผด็จการจะชื่นชอบการขับเคลื่อนภาคราชการด้วยแนวคิดราชการรวมศูนย์แบบแตกกระจาย (กรมาธิปไตย)  ทั้งนี้ เพราะราชการรวมศูนย์แบบแตกกระจายนั้น อำนาจจริงๆ ก็ไม่เคยให้ประชาชน ทรัพยากรทั้งหมดไม่เคยให้ประชาชน (ส่วนใหญ่แจกจ่ายไปหล่อเลี้ยงคนของพรรคราชการ) งบประมาณไม่เคยให้เต็มที่ (ให้ไปก็ตามที่พลพรรคราชการร่วมกับนายทุนอภิสิทธิ์ต้องการจะจะใช้งบประมาณ)  และที่สำคัญความไว้ใจไม่เคยมีให้ประชาชน

ดังนั้น ในประเทศสารขัณฑ์ จึงเป็นความจริงที่ว่าความมั่นคงของเผด็จการจะขัดแย้งกับความมั่นคงของประชาชน ในกรณีของสาธารณภัย ก็เช่นกัน ความมั่นคงของรัฐรวมศูนย์แบบแตกกระจายที่เผด็จการชื่นชอบและสนับสนุนให้ขับเคลื่อนภายใต้การโฆษณาชวนเชื่อว่ารัฐได้จัดบริการสาธารณะให้แก่ผู้ที่อยู่อาศัยในรัฐได้อย่างครบถ้วนเพียงพอ ซึ่งบริการสาธารณะเหล่านั้นที่สำคัญที่สุดคือการสร้างความมั่นคงในชีวิตของประชาชนในรัฐ แต่จาก 3 สถานการณ์ที่ผ่านมา รัฐราชการแบบรวมศูนย์แบบแตกกระจายน่าจะนำประเทศไปสู่ประเทศที่ล้มเหลว

1.สถานการณ์ไฟป่า

เริ่มเห็นตั้งแต่ในพื้นที่เขาใหญ่ จังหวัดนครนายก ไปยังในพื้นที่ภูกระดึง จังหวัดเลย และที่สุดก็เป็นพื้นที่ดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่   ในขอบเขตทั่วประเทศอาจไม่แจ่มชัดเท่าใดนัก  หากไม่เกิดความขัดแย้งและกลายเป็นปัญหาระหว่างความพยายามดับไฟป่ากับข้อต่อรองในการขนเครื่องมือของบางหน่วยราชการ  เป็นการต่อรองในเรื่องค่าใช้จ่ายและการขนส่ง  หากไม่เกิดความขัดแย้งภายหลังจากภาพไฟป่าได้รับการตีพิมพ์ให้สังคมรับรู้ในปัญหาและความร้ายแรงอันเกิดขึ้น เมื่อภาพเหล่านี้สร้างความหงุดหงิดไม่พอใจให้กับบางหน่วยราชการ กระทั่งในที่สุดมีการกีดกัน “ภาคประชาสังคม” ออกไป สังคมจึงรับรู้ว่า แท้จริงแล้วได้มีการผูกขาดในการบริหารจัดการ จะร่วมมือก็ต่อเมื่อหน่วยของตนได้รับประโยชน์ ข้อเสนอในเรื่องความร่วมมือกันระหว่าง “ราชการ” และ “ประชาชน” เสมอเป็นเพียงน้ำยาบ้วนปาก

2. สถานการณ์การระบาดไวรัสโควิด 19

ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 การที่เผด็จการทหาร ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้นำพารัฐราชการไทยเลือกใช้วิธีรวมศูนย์อำนาจด้วย พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ควบคู่กับการใช้ พ.ร.บ.ควบคุมโรค รวมอำนาจเข้ามาสู่ตัวนายกรัฐมนตรีในการรับมือกับ COVID-19 แต่ไม่สามารถประกัน/รับรองความมั่นคงปลอดภัยให้แก่ประชาชนตามหน้าที่เชิงบวกของรัฐได้ เพราะไม่สามารถทำให้ประชาชนใช้ชีวิตโดยปราศจากความกลัว ไม่สามารถจัดบริการสาธารณะทั้งในมิติทางสังคมและเศรษฐกิจ (ทั้งหน้ากากอนามัยขาดตลาด /กักตุน นำออไปขายต่าางประเทศ การจ่ายเงินชดเชยเยียวยา) ลดทอนศักยภาพโครงสร้างพื้นฐานและเศรษฐกิจ (ปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจแบบมั่วๆ) ไม่ธำรงหลักนิติธรรม จึงเป็นการนำพารัฐไทยไปสู่ความเป็นรัฐล้มเหลว

3. สถานการณ์อุทกภัย ในห้วงเดือนสิงหาคม 2563

นำ้ป่าทะลักเข้าท่วมหมู่บ้านแบบไม่ทันตั้งตัวในหลายพื้นที่ บ้านสูบ ตำบลน้ำสวย อำเภอเมือง จังหวัดเลย ต.ป่าเมี่ยง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ บ้านนาคำใหญ่ อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี และหลายตำบลหลายหมู่บ้านใน อ.วังเหนือ จ.ลำปาง รัฐราชการรวมศูนย์แบบแตกกระจาย (กรมาธิปไตย) ก็แตกฮือเข้าไปสร้างภาพทันที  ทั้งที่มันควรจะเป็นหน้าที่ของฝ่ายสนับสนุน เช่น บิณฑ์  เช่นฝันดีฝันเด่นไม่ใช่หรือ ไม่ใช่กองพันยิ้มหวานของบริษัทป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จำกัด ที่นั่งเฮลิคอปเตอร์ราคาพันล้านเข้่าไปอำนวยการการใช้งบประมาณให้ส่งศูนย์กลางโดยเร็ว จะได้สั่งซื้อเครื่องไม้เครื่องมือที่รอคิวเป็นกระตัก  ประชาชนไม่ต้องมาเผยอรอรับอย่างเดียวเป็นพอ ประชาชนไม่มีศักยภาพความสามารถคอยรับฟังอุกทกภัยคืออะไร  และก็ซ้อมวิ่งหนีขึ้นรถไปกลับเพียงพอแล้วอุ่นใจได้  ความมั่นคงของประชาชนต้องฝากไว้กับความมั่นคงของรัฐ

————————-///——————————