วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

แนวคิดการจัดการภัยพิบัติของ ส.ศ.ช. เป็นต้นเหตุพิพิธภัณฑ์เครื่องมืออุปกรณ์ในการกู้ภัยของบริษัทป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจำกัด ที่เฉลี่ยปีละสามพันห้าร้อยล้านบาท ตั้งแต่ปี 2558 – 2563 วงเงินรวมเกือบสองหมื่นล้านบาท ที่สามารถจัดซื้อได้ก็ด้วยการผ่านความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ส.ศ.ช.)

ส.ศ.ช. ได้วางแนวคิดการจัดการภัยพิบัติ ไว้ดังนี้ ที่เป็นบ่อเกิดการกว๊านซื้ออย่างมโหฬารแบบไม่สมเหตุสมผลตามหลักธรรมาภิบาล

1. การป้องกันการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติเป็นเรื่องยาก ส่งผลให้การใช้ดุลยพินิจผ่านความเห็นการวางแผนรับสถานการณ์ด้วยเครื่องมืออุปกรณ์มีลำดับความสำคัญเร่งด่วน

2. การจัดการภัยพิบัติเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง ตั้งแต่ก่อนเกิดภัย ขณะเกิดภัย และหลังจากเกิดภัยพิบัติ แต่ในมุมมองกิจกรรมที่จะต้องดำเนินการกลับเป็นการตั้งรับก่อนเกิดภัย บรรเทาขณะเกิอดภัย และเน้นการฟื้นฟูอย่างเร่งด่วนหรือในระยะสั้น

2.1 การตั้งรับก่อนเกิดภัย มีแนวคิดมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการเพิ่มขีดความสามารถของหน่วยงานภาครัฐในการเผชิญกับสภาวการณ์เกิดภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.2 บรรเทาขณะเกิดภัย มีแนวคิดมุ่งเน้นการช่วยชีวิต ป้องกันอันตราย และลดความสูญเสียต่างๆ เช่น การค้นหาช่วยชีวิต การกู้ภัย   การอพยพ การผจญเพลิง การแจกจ่ายอาหารและยา  การจัดที่พักชั่วคราว การปฐมพยาบาล

2.3  การฟื้นฟูอย่างเร่งด่วน มีแนวคิดมุ่งเน้นการซ่อมแซมโครงสร้างพื้นฐาน ปรับปรุงระบบการดำเนินงานต่างๆ

แนวคิดสำคัญดังกล่าว ส่งผลให้เห็นความสำคัญของรถประกอบอาหาร จำนวน 350 คัน  รถเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย จำนวน 650 คัน  รถบรรทุกน้ำดับเพลิง 250 คัน  รถดับเพลิงขนาด 10000 ลิตร จำนวน 240 คัน ซึ่งล้นเกินความต้องการจำเป็น เป็นภาระทางเงินงบประมาณโดยผลตอบแทนต่ำ

3.และยังเห็นวาในอดีตเรามุ่งเน้นการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์เป็นหลัก ต่อไปเราต้องการเตรียมการเชิงรุกมากขึ้นโดยการวางแผนเพื่อเผชิญหน้ากับสถานการณ์  แต่มุ่งเน้นเพียงความพร้อมของทรัพยากรกู้ภัย มากกว่าการปรับวัฒนธรรมวิถีชีวิต การปรับระบบการผลิตทั้งอุตสาหกรรมและการเกษตรกรรม การศึกษาค้นคว้าวิจัย  ซึ่งจะให้ผลตอบแทนคุ้มค่ากว่าการทุ่มเทกับทรัพยากรกู้ภัยเพียงอย่างเดียว

———–xxxxx————–