วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2563 ประเทศไทยมีการชุมนุมแสดงออกทางการเมืองของนิสิต นักเรียน นักศึกษาบ่อยๆ จนถึงปลายเดือนตุลาคม 2563 มีการชุมชนุมการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองกันทุกวัน และมีม๊อบแสดงความคิดเห็นต่างกับนิสิต นักเรียนนักศึกษาที่ได้รับจัดตั้ง เป็นม๊อบรวมศูนย์

ทำให้มองสะท้อนถึงการจัดการภัยพิบัติโดยอาศัยชุมชนเป็นฐานมีลักษณะเดียวกันกับม๊อบเสื้อเหลืองม๊อบเห็นต่างกับนักเรียนนักศึกษาที่ได้รับการสนับสนุนพร้อมพรั่งทั้งป้ายไวนิล ธง รูป การเดินทาง แต่มีเพียงความรักความหลง นอกนั้นก็ไม่รู้เหนือรู้ใต้อะไร (เหมือนกันการมานั่งฟังอิทธิฤทธิ์ของบริษัท ปภ.จำกัด มีเรื่องมีราวต้องรู้ขอน่ะจะรีบจัดสรรให้ความอนุเคราะห์ และต้องทำตามขั้นตอนด้วยนะเริ่มจากคอยฟังประกาศของทางราชการ แจ้งประสานขอรับความช่วยเหลือ แล้วเข้าสูภาวะอยู่ในคำสั่งทำตามคำแนะนำ )

กับอีกม๊อบหนึ่งมีเพียงมือมีเพียงโทรโข่งหรือบางทีมีรถขยายเสียงแต่ส่วนใหญ่มีความมุ่งมาดปราถนาร่วมกันที่จะฝ่าฟันด้วยอุดมการณ์เดียวกัน ซึ่งลักษณะดังกล่าว ถ้ามุ่งมาใช้ด้านภัยพิบัติก็จะเป็นต้นธารของการปฏิรูป จะเกิดพื้นที่ใหม่ๆ  ของประชาชนในการเข้าร่วมการจัดการภัยพิบัติ  เกิดเครื่องมือใหม่ๆ ในการลดผลกระทบหรือการปรับตัวอยู่กับภัยพิบัติ  ถ้าเป็นม๊อบเสื้อเหลืองก็เสร็จโก๋บริษัทป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจำกัด

ตารางเปรียบเทียบความก้าวหน้าของการชุมนุมของนักเรียนกับความล้าหลังของการจัดการภัยพิบัติ

มิติใหม่การชุมนุมของนักเรียนนักศึกษา

ความล้าหลังการจัดการภัยพิบัติ

แนวทางพัฒนา

เปิดพื้นที่การเมืองใหม่

ฮุบพื้นที่จำกัดพื้นที่ด้วยการออกกฎหมาย ออกระเบียบมาปิดพื้นที่  สร้างวัฒนธรรมศักดินา

มุ่งสร้างองค์กรให้เป็นฮับของโลกเสมือนจริง

การใช้เครื่องมือใช้รูปแบบใหม่ๆ ในการแสดงออก

เครื่องมือใหม่ๆ  แต่จำกัดคนใช้เฉพาะบริวาร รูปแบบใหม่ๆ ที่ดำเนินการต้องพึ่งพาพวกตน

เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทุกคนสามารถใช้ได้  ถอยไปทำโครงสร้างนิรภัยให้สังคม  ลดการสะสมเครื่องมือเครื่องใช้ให้พวกตน

คนรุ่นใหม่เข้าสู่พื้นที่

ต้องขึ้นทะเบียน ต้องอบรมจัดตั้ง

การสร้างสมรรถนะถ้วนทั่ว

————–xxx——————