วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

การบรรเทาสาธารณภัยที่ยั่งยืนสืบไป มีอยู่ 2 ประการ ที่จะต้องดำเนินการให้บรรลุสู่ความปลอดภัยพิบัตินิรันดร์กาล ได้แก่

1.พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมีความสามารถตอบสนองต่อผลกระทบหรือช่วยเหลือตนเองได้ มากกว่าที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือจากภายนอกพื้นที่และความช่วยเหลือนั้นขึ้นอยู่กับลำดับความสำคัญเร่งด่วนของความต้องการจำเป็นด้านมนุษยธรรมซึ่งต้องได้รับการพิจารณาเตรียมพร้อมก่อนภัยพิบัติ ไม่ใช่การเผชิญสถานการณ์ (อย่าให้มีการเผชิญสถานการณ์)

ดังนั้น 1)ความสามารถที่พื้นที่ที่จะต้องเร่งสถาปนาให้เกิดขึ้นในพื้นที่ มีดังต่อไปนี้

1.1) ความกระจ่างแจ้งในลักษณะและขอบเขตของภัยพิบัติ ทั้งนี้ จะมาคอยฟังข่าวการแจ้งเตือนจากภาครัฐ(ที่ล้าหลัง/หรือไร้ความรับผิดชอบต่อประชาชน) คงจะหวังพึ่งไม่ได้ เพราะภาครัฐมีประสิทธิผลเพียงสักแต่ว่าได้ดำเนินการแล้วในเรื่องนี้ และโดยเฉพาะหน่วยงานรัฐแต่สำนักบริษัทจำกัดด้วยแล้ว มีแต่ความสิ้นเปลืองในการใช้จ่ายภาษีเท่านั้น (ไร้ความผิดแล้ว)

1.2) ่สมรรถนะ(ความพร้อมพอ)ในการรับมือความเสียหายและภัยคุกคามทุติยภูมิ

1.3) ความสามารถในการประเมินสถานการณ์เบื้องต้น ที่ต้องการการตอบสนองในทันทีในช่วงก่อนเริ่มต้นภัยพิบัติ

2) ความสามารถของหน่วยงานภาครัฐที่จะต้องสถาปนา มีดังต่อไปนี้

2.1) ความเชี่ยวชาญในการให้ความช่วยเหลือบรรเทา/ฟื้นฟูในระยะยาว

2.2) เท่าทันต่อความต้องการของประชาชน

2.3) ความสามารถในการประเมินสถานการณ์อย่างรอบด้านครอบคลุม ตั้งแต่แนวโน้มจนถึงการพัฒนารับมือ

2.มาตรการบรรเทาทุกข์ต้องได้รับการวางแผนในบริบทของการพัฒนาในระยะยาว อันจะทำให้โอกาสในการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติในอนาคตบรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ