วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ศักยภาพสูงสุดในการแก้ไขสถานการณ์ภัยพิบัติ เมื่อเราต้องเผชิญสถานการณ์วิกฤต เราจำเป็นต้องมีความต้องการจำเป็นศักยภาพสูงสุดของเราหรือชุมชนในการแก้ไขสถานการณ์  สลัดตัวตนออกจากระบบและโครงสร้างอันซับซ้อนและแข็งแกร่งที่ครอบงำเรา นำสู่ความปลอดภัยพิบัติที่ยั่งยืนสืบไป  จากการศึกษาจากประชากรในอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ระหว่างกรกฎาคม – กันยายน 2563 พบว่าเรามีความต้องการจำเป็นศักยภาพสูงสุดตามลำดับความสำคัญ ดังตารางผลการศึกษา ดังนี้

 

ปัจจัย

MEAN

MEDIAN

ลำดับความสำคัญ

ความสามารถในการเรียนรู้

4.89

3

1

ความสามารถในการสร้างความรู้

4.38

3

2

ความสามารถในการสร้างนวัตกรรม

3.52

3

3

ความกล้าเชิงความสมเหตุสมผล

3.09

3

4

1.ความสารมารถในการเรียนรู้  กุญแจสำคัญในการในการปรับตัวและก้าวผ่านอุปสรรค ในศตวรรษที่ 21 เป็นสิ่งที่เราสามารถวัดได้โดยอาศัยร่องรอยในการปฏิบัติของเราในการต่อสู้เผชิญภัยพิบัติอย่างไร  และจากการเผชิญนั้นเราสะท้อนถึงความต้องการเดินไปข้างหน้าอย่างท้าทายอย่างไร (ท้าทายในที่นี้ หมายถึง เราจะต้องอย่างโน่นอย่างนี้ ภายในกี่วันกี่เดือน ฯลฯ)

2.ความสามารถในการสร้างความรู้  เป็นความสามารถพิเศษของมนุษย์อย่างหนึ่งที่สภาพแวดล้อมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อมทางสังคม สภาพแวดล้อมทางกายภาพ มนุษย์สามารถที่สร้างองค์ความรู้จากการเผชิญ/สัมผัสสภาพแวดล้อม http://krukob.com/web/1-121/

3.ความสามารถในการสร้างนวัตกรรม จากการเผชิญภัยพิบัติจะทำให้เกิดแนวคิดหลากหลายในการเติบโตหลุดพ้นจากความยากลำบาก และมีการประยุกต์ใช้ทรัพยากรที่มีรอบๆ ตัวในการช่วยให้ผ่านพ้นความยากลำบาก http://www.warincity.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=10211;-innovation-in-organization-&catid=149;km

4.ความกล้าเชิงสมเหตุสมผล  เป็นความมุ่งมั่นที่สอดคล้องกับระบบนิเวศ อันสามารถจะพยากรณ์ได้ว่าจะประสบผลสำเร็จอย่างแน่นอน

———–ออ————-