ความตกลงใจร่วมกันในการที่จะลดความเสี่ยงจากภาวะโลกร้อนของพลเมืองโลกดูจะไม่ค่อยปรากฏให้เห็นเด่นชัด แม้ในประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศเยอรมัน ประเทศญี่ปุ่น ที่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประชาชนในประเทศดังกล่าว ต่างก็มีความตกลงใจร่วมกันอย่างชัดแจ้งในการปฏิบัติร่วมกันให้เป็นพลังความเข้มแข็งของชาติเพื่อเอาชนะศัตรู
ในประเทศสหรัฐอเมริกามีฉันทามติร่วมกันว่าแม้ความมืดเล็กน้อยก็ดูเป็นเรื่องสมเหตุสมผลที่ประชาชนที่อยู่ในที่ปลอดภัยอยู่หลังพื้นที่สู้รบสมควรที่จะทำเพื่อชาติด้วยการปิดไฟเร็วขึ้นสักหน่อย การลดวิถีชีวิตอิสระ ละทิ้งความสุขสบายและความสะดวกหลายๆ อย่างที่พึงมี ไม่ใช่ทุกคนที่ได้รับเกียรติให้ไปต่อสู้ ไม่ใช่ทุกคนที่มีโอกาสได้ทำงานในโรงงานผลิตอาวุธหรืออู่ต่อเรือรบ โรงงานผลิตอาวุธหรือวัตถุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการสู้รบ ประชาชนต่างมองเห็นพ้องร่วมกันว่ายังมีแนวรบอีกแนวและพื้นที่สงครามอีกพื้นที่ ที่ทั้งชายหญิง และเด็กทุกคนมีส่วนร่วมได้ และจะมีสิทธิ์ร่วมต่อสู้ไปด้วยกันจนจบสงคราม แนวรบที่ว่านั้นอยู่ที่บ้านนั่นเอง
นักวิชาการเปรียบกิจกรรมทางสังคมอเมริกันดังกล่าวว่า “โครงการปฏิเสธตนเอง” ซึ่งเมื่อความยากลำบากครั้งใหญ่นี้สิ้นสุดลง เราก็จะรักษาวิ๔ีชีวิตอิสระไว้ได้ และไม่ต้องเสียสละอะไรอีกเลย
แต่ในปัจจุบัน ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ขาดสมรรถนะด้านความเห็นพ้องต้องกัน เห็นได้จากสหรัฐอเมริการเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุดในโลก ดังภาพข้างล่างนี้ ชาวอเมริกันไม่เชื่อว่าตัวเองจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนี้หรืออย่างไร มองไม่เห็นอนาคตที่วิถีชีวิตจะถูกคุกคามจากภาวะโลกร้อนกระนั้นหรือ
10 ประเทศ ที่ผู้คนสังเวยชีวิตให้กับภาวะโลกร้อนมากสุดในปี 2553 ซึ่งมีสาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือมลภาวะที่เกิดจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล มีดังนี้ https://thaipublica.org/2012/11/climate-change-monitor/
————–xxxxxx————–