วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

การมีส่วนร่วมที่เป็นเหรียญสองด้าน

การมีส่วนร่วมของสาธารณชนหรือกลุ่มผู้เกี่ยวข้องเป็นส่วนสำคัญที่จะสร้างนวัตกรรมความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งการมีส่วนร่วมเกี่ยวข้องอยู่กับประโยชน์ของสาธารณะ การต่อรองทางอำนาจ การกระจายอำนาจทรัพยากร แต่ปัญหาคือ ความไม่กระจ่างแจ้งในการอธิบายถึงประโยชน์อันพึ่งมีสำหรับการร่วมมือกันนี้  ผู้ได้รับประโยชน์จากการมีส่วนร่วมส่วนใหญ่เป็นภาครัฐ/หน่วยงานรัฐ ประชาชนได้รับประโยชน์น้อยมาก  การสร้างการมีส่วนร่มใช้งบประมาณปีละหลายหมื่นล้านบาท  แต่ดำเนินการไปโดยที่ประชาชนเป็นจ่ายภาษีให้ดำเนินการ แต่การดำเนินการตนเป็นฝ่ายเสียเปรียบภาครัฐ ดังประเด็นต่อไปนี้

  1. ผู้ประสบปัญหาเองไม่สามารถพูดประสบการณ์และความต้องการของตนเองได้
  2. ไม่มีพื้นที่ความคิดเห็นที่หลากหลาย (Divergent thinking) ในภาวะร่วมกันประสบภัยพิบัติ ซึ่งความคิดเห็นหลากหลายมุมมองของประชาชนเป็นแหล่งของความคิดสร้างสรรค์ สำหรับการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนได้ดี
  3. ไม่มีแนวทางที่ต่อเนื่องในการจัดการปัญหาที่ซับซ้อน (Management of complex problems) ระหว่างประสบปัญหาภัยพิบัติ  พลวัตในการต่อสู้เป็นไปในลักษณะต่างคนต่างเป้าหมาย รัฐหรือหน่วยงานเบื้องบนส่งแนวทางแก้ปัญหาแบบสำเร็จรูปลงมาใช้กับพื้นที่นั้นๆ ไม่สนใจศึกษาถึงความละเอียดอ่อนของผู้คนและปัญหาย่อยซับซ้อนในพื้นที่
  4. เป็นเพียงการส่งเสริมความชอบธรรมของโครงการ (Legitimacy of projects) ที่ภาครัฐผลิตและพัฒนาโครงการขึ้น โดยอาศัยความสำคัญต่อการให้น้ำหนักของโครงการนั้นๆ จากทุกภาคส่วนโดยเฉพาะผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ทำให้น่าเชื่อถือและดูมีความชอบธรรมมากขึ้น
  5. ไม่ได้สร้างความท้าทาย (Challeges) ในระหว่างกระบวนการ เป็นไปเพื่อให้ได้ผลลัพท์ที่นำไปสู่สิ่งที่ผู้กำหนดภารกิจ แผนงาน/โครงการ นโยบาย/แนวทางปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติและผู้ร่วมงานไม่ได้คาดหวังอะไรมากนัก
  6. ไม่ต่อเนื่องถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หลายปัญหาที่ซับซ้อนจึงไม่อาจจัดการด้วยวิธีการส่งเครื่องมือหรือผลิตภัณฑ์  (มันจบแล้วครับนาย ชาวบ้านหยุดโหยหาเรียกร้องแล้ว เราได้สถิติได้สถานการณ์ไปอ้างความชอบธรรมความสมเหตุสมผลจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์อีกหลายพันล้านครับนาย ฮ.อีกสักลำคงไม่มีปัญหา)

อนาคตในการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วม

เราจะอยู่กันอย่างนี้ต่อไปอีกนานเท่าใด  จะนิ่งเงียบเป็น”คุณเฉย”ทำตาปริบ ๆ โดยไม่ช่วยกันหาทางป้องกันหรือแก้ไขสถานการณ์ “มะเร็งร้าย”ที่กำลังคุกคามสังคม  โดยคุณได้รับการช่วยเหลือเพียงเล็กเพียงน้อยหรือเบื้องหน้าที่ตนเดือดร้อนเพียงอย่างเดียวกระนั้นหรือ รอให้เหตุการณ์ซ้ำซากเกิดขึ้นวนเวียนชั่วนาตาปี กระนั้นหรือ  ไม่น่าเชื่อที่เราต้องเรียนรู้จากประเทศพม่า

————xxxxxxxxxxxx————