วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

 

จากการศึกษาการเกิดอุทกภัยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากประชาชน จำนวน 600 คน ระหว่างเดือนเมษายน 2563 – ตุลาคม 2563 พบว่าสภาพปัญหาการเกิดอุทกภัย สรุปได้ดังนี้

1. มีการใช้ประโยชน์ที่ดินสำหรับกิจกรรมของมนุษย์เพิ่มมากขึ้น ทำให้สูญเสียการใช้ประโยชน์ที่ดินสำหรับรักษาสมดุลของระบบนิเวศด้านทรัพยากรน้ำ

2. สภาพภูมิประเทศสูญเสียศักยภาพการกักเก็บน้ำ สูญเสียศักยภาพการระบายนำ้

3. การขาดศักยภาพในการบริหารจัดการของภาครัฐ

4. การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ยังไม่พิจารณาในประเด็นที่ส่งผลกระทบให้เกิดอุทกภัยในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็น การก่อสร้างถนน การขยายชุมชนบ้านเรือนสิ่งก่อสร้างเพิ่มเข้าไปในพื้นที่ธรรมชาติมากขึ้น

5. การขาดความตระหนัก ขาดความรู้ความเข้าใจถึงผลกระทบของกิจกรรม วิถีชีวิตตนเอง

6. การบังคับใช้กฎหมายที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สำหรับคนบางกลุ่มบางพวก

โดยมีผลการศึกษาตามตาราง ดังนี้

องค์ประกอบสภาพปัญหา (Weight)

ผลลัพธ์รวม (1)

น้ำหนักความสำคัญ (2)

(1)/(2)

มีการใช้ประโยชน์ที่ดินสำหรับกิจกรรมของมนุษย์เพิ่มมากขึ้น ทำให้สูญเสียการใช้ประโยชน์ที่ดินสำหรับรักษาสมดุลของระบบนิเวศด้านทรัพยากรน้ำ

2.1240

0.3890

5.4602

สภาพภูมิประเทศสูญเสียศักยภาพการกักเก็บน้ำ สูญเสียศักยภาพการระบายนำ้

1.3977

0.2568

5.4428

การขาดศักยภาพในการบริหารจัดการของภาครัฐ

0.7510

0.1403

5.3528

การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ยังไม่พิจารณาในประเด็นที่ส่งผลกระทบ

0.6074

0.1163

5.2272

การขาดความตระหนัก ขาดความรู้ความเข้าใจถึงผลกระทบของกิจกรรม วิถีชีวิตตนเอง

0.5060

0.0997

5.1791

การบังคับใช้กฎหมายที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สำหรับคนบางกลุ่มบางพวก

0.4235

0.0879

4.8179

Max = (5.3528 + 5.2272 +5.4602 +5.4428 + 5.1791+4.8179)/6

5.3324

CI = ( max –n)/(n-1)  = (5.3324 – 6) / (6-1)

0.0831

CR = CI / RI   = 0.0831/1.12

0.0742

https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/912535 // https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/911921

---------------ปปปป--------------