ในอดีตที่ผ่านมา การจัดการภัยพิบัติยังอยู่ในยุคที่สังคมยังไม่ซับซ้อนเท่าใดนัก การตกลงปรองดองกันก็สามารถทำได้อย่างง่ายดาย แต่นับจากนี้เป็นต้นไป เราอาจจะเผชิญความหลากหลายแตกต่างมากขึ้น บางสถานการณ์ก็ไม่อาจแก้ไขบรรเทาแบบมีสุขร่วมเสพมีทุกข์ร่วมต้าน ดังนั้น ทำให้สิ่งเกิดหลักการ/แนวทางสำคัญที่ไม่ได้มีบรรจุไว้ใน พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ขึ้น ดังไฟส่องทางสู่อนาคตสังคมนิรภัยของเราหริบรี่อ่อนแรง ดังเส้นทางต่อไปนี้ที่ขาดหายไป
1.การกล่าวถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในชีวิตและร่างกายของตน
2.การกล่าวถึงสิทธิที่จะปฏิเสธการช่วยเหลือด้วยมาตรการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจากรัฐ
3.หลักการมาตรฐานวิชาการ และมาตรฐานคุณธรรม จริยธรรม โดยสามารถตอบสนองอรรถประฏโยชน์สูงสุดของประชาชน บนหลักการ 3 ประการ คือ
3.1 ทำเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ประสบภัยพิบัติ
3.2 เลือกแนวทางที่เป็นอันตรายน้อยที่สุด
3.3 ให้ความยุติธรรมความเป็นธรรมแก่ผู้ประสบภัยพิบัติ/ผู้เปราะบาง เสมอกัน ไม่เลือกปฏิบัติ
3.4 พัฒนาฟื้นฟูอย่างเป็นระบบเชิงนิเวศ
4. ยึดหลักการดำรงสิทธิตามธรรมชาติ คือ เป็นโอกาสที่จะทำให้ตนเอง ญาติพี่น้อง และผู้เกี่ยวข้อง ได้คิดได้เตรียมตัวที่ดี
------xxx--------