สิทธิขั้นพื้นฐานที่ผู้ประสบภัยพิบัติธรรมชาติในการเรียกร้องจากรัฐในการได้รับความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ รวมทั้งสิทธิของผู้เปราะบางจากภัยพิบัติที่ควรจะได้รับการคุ้มครองจากมาตรการเตรียมความพร้อมเพื่อที่จะให้ความช่วยเหลือในอนาคตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย สิทธิขั้นพื้นฐานที่ควรจะไก้รับ ประกอบด้วย
1.สิทธิที่จะมีชีวิตอยู่(Right to Life)
เป็นสิทธิพื้นฐานขั้นต่ำที่สุด รัฐพึงมีพันธกรณีจะต้องดำเนินการทุกวิถีทางภายในอำนาจ ของตนที่จะปกป้องชีวิตของประชาชนจากภัยอันตรายทั้งปวง รวมทั้งการดำรงรักษาความปลอดภัยและความเป็นอยู่อย่างปกติสุขของประชาชนในรัฐ
2.สิทธิด้านอาหาร(Right to Food)
เป็นสิทธิที่ได้รับ การรับรองภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ ปัจเจกชนพึงมีสิทธิได้รับอาหาร และควรเป็นอาหารที่คุ้นเคยหรืออาหารปกติซึ่งจะไม่สร้างผลกระทบเกิดความรู้สึกว่าเป็นการไม่เคารพต่อวัฒนธรรม ที่แตกต่างออกไป
3.สิทธิด้านน้ำ (Right to Water)
เป็นสิทธิที่มาควบคู่กับสิทธิด้านอาหาร ซึ่งน้ำมี 2 ประเภท คือ 1) เพื่อใช้อุปโภค 2) เพื่อการบริโภค
4.สิทธิการกลับสู่ถิ่นฐานเดิม (Right to Return)
มีถิ่ฐานเดิมมีความปลอดภัยแล้ว ผู้ประสบภัยพิบัติทั้ง 2 ประเภท คือ 1)ผู้ที่ย้ายจากถิ่นฐานเดิมที่ประสบกับภัยพิบัติธรรมชาติเป็นผู้พลัดถิ่นภายในดินแดน (Internally Displaced Persons) 2)ผู้พลัดถิ่นภายนอกดินแดน(Externally Displaced Persons) ซึ่งมีสาเหตุจากภัยพิบัติธรรมชาติ ก็มีสิทธิที่จะต้องเดินทางกลับถิ่นฐานเดิม
5.สิทธิการมีที่อยู่อาศัย(Right to Housing)
ในพื้นที่ปลอดภัยที่รองรับการอพยพ ผู้ประสบภัยควรที่จะต้องมีสิทธิในการมีที่อยู่อาศัย หลังจากเกิดเหตุภัยพิบัติธรรมชาติ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ๓ รูปแบบ คือ
5.1ที่พักฉุกเฉินให้กับผู้ประสบภัย ซึ่งมักจะใช้สถานที่สาธารณะ อาทิ หอประชุม โรงพยาบาล โรงเรียน หรือแม้แต่จะเป็นเต็นท์
5.2ที่พักชั่วคราวที่มีความเหมาะสม จนกว่าที่อยู่เดิมของตนจะได้รับการซ่อมแซม หรือมีการสร้างขึ้นใหม่ โดยต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้ที่ได้รับผลกระทบ
5.3 ที่พักถาวร การจัดสร้างที่พักใหม่ ไม่ว่าจะเป็นในพื้นที่เดิมหรือพื้นที่ใหม เนื่องจากพื้นที่เดิมอันตรายไม่อาจอยู่อาศัยอย่างปลอดภัยอีกต่อไปได้
6.สิทธิเครื่องนุ่งห่ม (Right to Clothing)
เป็นสิทธิที่จะต้องได้รับ และต้องให้ความเคารพในสิทธิส่วนบุคคลของผู้รับ เคารพต่อ วัฒนธรรมท้องถิ่นของผู้รับและสภาพภูมิอากาศของพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบ
7.สิทธิด้านสุขภาพ(Right to Health)
ผู้ประสบภัยพิบัติจะต้องสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์รักษาพยาบาลทั้งทางตรง คือการเจ็บป่วยทางร่างการ และทางอ้อม คือการได้รับผลกระทบทางด้านจิตใจ
8.ิสิทธิในการได้รับรู้ถึงข้อมูล (Right to Access Information)
เป็นิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและครอบคลุมเกี่ยวกับภัยพิบัติ และความเสี่ยงที่อาจได้รับหรือจะได้รับ จากภัยพิบัตินั้น ตลอดจนข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวกับ วิธีการที่จะช่วยเหลือตนเองจากภัยพิบัติ ตลอดจนการรับทราบข้อมูลในการรับความช่วยเหลือและเยียวยาหลังเกิดภัย
9.สิทธิการให้ความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรม (Right to Humanitarian Assistance)
คนที่ไม่ได้ประสบภัยพิบัติหรืออยู่นอกพื้นที่ภัยพิบัติ ย่อมมีสิทธิที่จะให้ความช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ผู้ที่ประสบภัยพิบัติ โดยมีหลักการให้ความช่วยเหลือ 3 ประเภท คือ
9.1) การให้ความช่วยเหลือตามความต้องการทางร่างกายของมนุษย์ เช่น อาหาร เสื้อผ้า ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัยชั่วคราว สิ่งของ เครื่องยนต์ที่ใช้สำหรับการขนส่ง และค้นหาผู้รอดชีวิต
9.2) การให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงิน สำหรับใช้สำหรับซื้อสิ่งของที่จำเป็น
9.3) ให้ความช่วยเหลือสนับสนุนบุคลากรที่ปฏิบัติงานหรือฝึกฝนบุคลากร ไม่จำกัดเพียงเจ้าหน้าที่ภาคสนามเท่านั้น แต่รวมถึงเจ้าหน้าที่ด้านงานบริหารหรือการประสานงาน
การให้ความช่วยเหลือระหว่างประเทศ ทุกครั้งต้องขอความยินยอม จากรัฐที่ได้รับผลกระทบเสียก่อน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเคารพในอำนาจ อธิปไตยของรัฐเจ้าของดินแดน ในทางกลับกันก็ยังไม่ปรากฏว่ามีเหตุผล อันใดที่รัฐจะปฏิเสธไม่ยอมรับการให้ความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรม ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ
ในช่วงแรกของการเกิดภัยพิบัติผู้ที่ได้รับผลกระทบจำต้องอาศัยการให้ความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรม เพราะเป็นเรื่องเร่งด่วนในการกู้ภัยช่วยชีวิตให้รวดเร็วที่สุด แต่ช่วงการฟื้นฟูต้องเป็นบทบาทของรัฐดำเนินการต่อไป
—————–xx—————