วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

 

เมื่ออยู่บนท้องถนน เราควรที่จะเฉลียวใจกลัวสภาวะของ ‘คนแปลกหน้า’ ไว้ใหเป็น Mind set ของตนเอง ช่วงแรกก็ต้องฝึกต้องบังคับใจกันหน่อย ต่อไปก็จะมีทักษะและดำเนินไปอย่างอัตโมัติกันเลย

ความกลัวสภาวะของ ‘คนแปลกหน้า’ เมื่อเราบังคับให้เกิดขึ้น มันจะเป็นรูปธรรมตามมาหลายอาการ เช่น การคิด ประเมิน และคาดการณ์ว่า เฮ้ย มันดูไม่โอเคแล้ว น่ากลัว เอาไงดี  ความกลัวในลักษณะนี้จะเรียกว่าปนเปไปด้วยอารมณ์และเหตุผลอยู่ในตัวเอง

Mina Cikara นักจิตวิทยาจากฮาร์วาร์ดกล่าวว่า การมองสภาวะของคนแปลกหน้า จะทำให้เกิดอคติของการแบ่งแยก (over-exclusion bias)  เราจะมีพฤติกรรมที่อยู่ในระดับความเห็นใจที่ต่ำลง และมีแนวโน้มที่จะแสดงพฤติกรรมรุนแรงต่อคนแปลกหน้า ซึ่งในลักษณะนี้ เมื่อเราสัญจรบนท้องถนนเราก็จะใส่ใจแสดงการแจ้งเตือนผู้ขับขี่คนอื่นมากขึ้น ระมัดระวังหวาดระแวงการขับขี่ของคนอื่นมากขึ้น  แม้จะมีนักวิชาการบอกว่าเรากำลังลดทอนความเป็นมนุษย์ของคนแปลกหน้า

ทำอย่างสม่ำเสมอ เราก็จะสามารถปลูกฝังความกลัว (fear) และ ความหวาดวิตก (phobia) ให้แก่เรา  อันจะทำให้เรามีวัฒนธรรมการสัญจรแบบใช้อารมณ์ความรู้สึกเป็นตัวขับ” (emotional drive)  ฟังดูคล้ายจะก่อให้เกิดหายนะเกิดความสูญเสียจากอารมณ์ความรู้สึก  แต่นั่นเป็นอารมณ์ความรู้สึกที่ปราศจากความกลัว

พระพุทธศาสนากล่าวถึงการรับมือกับความกลัว 2 วิธี คือ

1.รูปแบบการกดทับปัญหาไว้ หรือระงับปัญหาไว้ก่อน (สมถะ)

2.การทำความเข้าใจกับปัญหาเพื่อรับรู้และวางใจให้เป็นอิสระ(วิปัสสนา) เฝ้ามองอย่างผ่อนคลายด้วยสติ จะแปรเปลี่ยนความกลัวเป็นความเข้าใจต่อเหตุการณ์ ความสุขและอิสรภาพก็เกิดขึ้นอย่างแท้จริง

————-xxxx————-