สังคมไทยมีจุดวิกฤตจุดหายนะที่พวกเราเผชิญอยู่ร่วมกัน จากบรรทัดฐานที่ก่อรูปมาจากการกำหนดของระบอบการปกครองที่ประทานมาให้โดยคนเพียงกลุ่มหยิบมือเดียว บรรทัดฐานนั้น ส่งผลให้เรา
1.มีความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับความปลอดภัย
ยกตัวอย่างเช่น ทัศนคติของนักวิชาการการแพทย์ในปี 2563-2564 ที่เห็นว่า การขอความร่วมมือให้ให้ประชาชนใช้ผ้าปิดจมูก ล้างมือบ่อยๆ เว้นระยะห่างทางกายภาพ และเพิ่มระยะห่างทางสังคม (ปิดกิจกรรมทางสังคมบางช่วงเวลา) สามารถต่อสู้กับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 ได้เป็นอย่างดี จนละเลยการป้องกันอย่างเข้มแข็งยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ เช่นการฉีดวัคซีนให้ประชาชน ทำให้ระยะต่อมาประเทศได้ก้าวสู่หายนะ ในปี พ.ศ.2565 รัฐบาลเผด็จการเฒ่าทหารก็ประกาศชัยชนะบนซากศพประชาชนนับหมื่นคน
2.มีปฏิกิริยาตอบโต้ที่ไร้ประสิทธิผล
ในช่วงหลายๆ ทศวรรษนับจากปี 2545 เหล่าข้าราชการได้กล่อมเกลาสังคมให้มีทิศทางในการปกป้องสังคมจากสาธารณภัยด้วยการสร้างพิพิธภัณฑ์เครื่องจักรด้านสาธารณภัย และหน่วยงานเฉพาะที่ปฏิบัติการตั้งแต่ระดับชาติไล่ลงไปถึงราชการส่วนภูมิภาค กำหนดนโยบายให้ราชการส่วนท้องถิ่น (อบจ./ทน./ทต/ทม./อบต.)ถือปฏิบัติให้เป็นไปในกรอบเดียวกัน ในภาคประชาชนก็ใช้งบประมาณมหาศาลมาล้างสมองให้เชื่องเชื่อต่อศักยภาพของหน่วยงานสาธาณณภัย ให้ร่วมมือร่วมไส้แห้งๆ ไปกับการซ้ายหันขวาหันตามที่ภาครัฐวางกรอบไว้ให้เดิน ให้ฝันว่าไปอยู่เมืองเฮียวโกะ ประเทศญี่ปุ่น
ผลจากยุทธศาสตร์ภาครัฐดังกล่าว ได้ทำให้การตอบโต้ของสังคมเป็นไปในเชิงรับ มองไม่เห็นความสำคัญของการดำเนินการเชิงรุก
3.ไม่มีความสามารถที่จะแนะนำตนเองให้เปลี่ยนแปลงสภาพสังคมตนเองได้
ด้วยชนชั้นนำของไทยมีความชำนาญในการแทรกแซงการปะติดปะต่อเหตุการณ์ต่างๆ ของคนไทย ด้วยการประดิษฐ์ประดอยวาทกรรมออกมาให้เคลิบเคลิ้ม จนจับต้นชนปลายไม่ถูก ทำให้ทำได้เพียงยอมๆ ให้ชนชั้นนำกุมทิศทางอนาคตกุมชะตาชีวิต จนแทบจะเรียกได้ว่าไม่มีความสามารถที่จะแนะนำตนเองได้ว่าควรจะเดินไปทางใด โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์ภัยพิบัติ/ สถานการณ์วิกฤต
ถ้ารวมมายาคติที่เราประกอบสร้างขึ้นเองด้วยแล้ว นัดคิดของพม่ายังมีแนวคิดเกี่ยวกับเราจากวาทกรรม “ถ้าพวกเราไม่สู้ก็อยู่อย่างไทย” เราก็จะสวนกลับด้วยวาทกรรม “กูเป็นสุขสนุกสะดวกสบาย พวกมึงซิโง่”