วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ความเหลื่อมล้ำด้านสาธารณภัย เราสามารถจับผลลัพธ์มาศึกษาด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือเป็นวิธีการที่ทำซำ้ได้ (replicable method) และความกระจ่างแจ้งที่เกิดขึ้นก็สามารถปรับปรุงภววิสัยให้ดีขึ้นให้มีความยั่งยืน  ซึ่งจะเป็นการดำเนินการโดยที่ไม่มาจากการคาดเดา มิติความเหลื่อมล้ำที่เราจะต้องหาความกระจ่าง มี 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1.ความเหลื่อมล้ำด้านสาธารณภัยทางกายภาพ มีความเหลื่อมล้ำเกิดขึ้นก็ด้วยการสรรสร้างตามเหตุปัจจัยของธรรมชาติ แต่ทั้งนี้ก็เพราะมนุษย์มีศักยภาพจนสามารถรุกรานได้มากกว่า

2.ความเหลื่อมล้ำด้านสาธารณภัยทางสังคมนิรภัย มี 3 ประเภท คือ

2.1 การปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มีความเหลื่อมล้ำเกิดขึ้นเพราะมีการปฏิบัติการที่บรรเทามากกว่าการป้องกัน และการป้องกันที่น้อยนั้นก็ดำเนินการแบบไม่มีประสิทธิภาพประสิทธิผลอันใด  สร้างเกราะ/คุ้มกัน/สนับสนุนการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจ

2.2 วิสัยทัศน์ มีความเหลื่อมล้ำเกิดขึ้นเพราะ…สามารถอยู่รอดเจริญเติบโตด้วยภารกิจที่มักง่าย เช้าก็พาครอบครัววิ่งหน้าตั้งแต่ได้ชามข้าวชามเดียว  ความล้มเหลวความบ้อท่าก็โบ๊ยไปที่ประชาชนที่ผิด และธรรมชาติที่เหนือการควบคุม เรียกว่าเป็นวัฒนธรรมของข้าราชการไทย ตั้งแต่ระดับองค์กรเล็กไปจนถึงระดับรัฐบาลยุครัฐประหาร 57

2.3 การพัฒนา มีความเหลื่อมล้ำเกิดขึ้นเพราะเลือกที่จะโง่เขลาในการพัฒนา ยอมอยู่ภายใต้การแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจ

————–ขขขขข————–