วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ด้วยนโยบายดีๆ เรื่องฟรีไวฟาย จำนวน ๕๐,๐๐๐ จุดทั่วประเทศ จะช่วยลดการเดินทางติดต่อสื่อสาร เป็นระยะทางมหาศาล อีกเรื่องดีๆ เช่นกัน คือนโยบายการจัดเก็บภาษีรถยนต์จากการคำนวณจากปริมาตรของกระบอกสูบมาเป็นการคำนวณจากการปล่อยก๊าชคาร์บอนไดซ์ออกไซด์ ผลกระทบส่วนใหญ่คงจะเกิดขึ้นกับตลาดรถกระบะที่ปัจจุบันปล่อยก๊าชคาร์บอนไดออกไซต์มากกว่ารถยนต์นั่งส่วนบุคคล(เก๋ง)

ที่กล่าวข้างต้นเป็นการป้องกันแก้ไขปัญหาภัยพิบัติที่ต้นเหตุต่อเนื่อง ส่วนต้นเหตุโดยตรงที่สังคมมองเห็นบ้างและที่สังคมมองไม่เห็นบ้าง ยังมีมากมายมหาศาล เช่น

ต้นเหตุที่มองเห็น

1. เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติระยะเวลาสั้นๆ หรือในขอบเขตจำกัดในพื้นที่หนึ่งๆ เช่น น้ำท่วม ภูเขาไฟระเบิด ความแห้งแล้ง

2. มนุษย์สร้างผลกระทบ เช่น อัคคีภัย อุบัติเหตุทางถนน  อันตรายจากสารเคมี

ต้นเหตุที่มองไม่เห็น

1. ผลกระทบจากการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์

2. ความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติระดับมหภาค หรือใช้เวลาเปลี่ยนแปลงยาวนาน

การป้องกันแก้ไข

1. การแก้ไขแบบไม่ยั่งยืน ส่วนใหญ่ในทวีปเอเซีย เป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า โดยยึดสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจะไม่สร้างความเสียหายในลักษณะนั้นอีก

2. การแก้ไขแบบยั่งยืน ในยุโรปจะมีแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนค่อนข้างเยอะ โดยผนวกความมุ่งหวังหรือวิสัยทัศน์เพื่ออนุชนรุ่นหลังต่อไปจะได้ปลอดภัย มีความสุข

อย่างไรก็ตาม เรายังคงมีความหวังเพราะถ้าสังคมเราได้มองเห็นปัญหาอยู่บ้าง และพยายามจะป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเกิดผลกระทบตามมา

———————————————————————-