วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

พื้นที่เผชิญหายนะอัคคีภัย เป็นเรื่องหนึ่งที่นักดับเพลิงจะต้องคำนึงถงในการปฏิบัติการ คือ ประเภทของพื้นที่ครอบครอง ซึ่งกำหนดพื้นที่โดยไม่พิจารณาถึงชนิดของการก่อสร้างเพื่อความมุ่งหมายในการจัดระบบป้องกันอัคคีภัย พิจารณาวัสดุที่สามารถติดไฟและลามไฟ ชนิดและปริมาณของวัสดุที่เป็นเชื้อเพลิงที่ปรากฏในพื้นที่นั้นๆ)  การแบ่งประเภทของพื้นที่ครอบครอง จะแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

1.พื้นที่ครอบครองอันตรายน้อย ได้แก่

ที่พักอาศัย ,สำนักงานทั่วไป, ภัตตาคาร (ส่วนรับประทานอาหาร),โรงภาพยนต์และศูนย์ประชุม(ไม่รวมเวที), โบสถ์ วัด วิหาร, สโมสร ,สถานศึกษา, โรงพยาบ, สถานฟักฟื้น, ห้องสมุด ,พิพิธภัณฑ์

2.พื้นที่ครอบครองอันตรายปานกลาง ได้แก้

2.1 กลุ่มที่ 1 ได้แก่ โชว์รูมรถยนต์/ที่จดรถยนต์ , โรงงานผลิตเครื่องดื่ม ,โรงงานทำขนมปัง, ร้านซักผ้า ,โรงงานผลิตอาหารกระป๋อง, โรงงานผลิตแก้ว/วัสดุที่ทำจากแก้ว ,ภัตตรคาร ,โรงงานผลิตเครื่องบริโภคประจำวัน

2.2 กลุ่มที่2 ได้แก่ โรงงานผลิตสินค้าที่ทำจากขนสัตว์ ,โรงงานผลิตสิ่งทอ ,โรงานผลิตภัณฑ์จากไม้ , โรงงานที่ใช้สารเคมี ,โรงสีข้าว ,โรงกลึง ,โรงงานประกอบผลิตภัณฑ์โลหะ , โรงต้มกลั่น , อู่ซ่อมรถ ,โรงงานผลิตอาหารสัตว์ ,ร้านค้า ,ที่ทำการไปรษณีย์ ,เวทีแสดง ,ห้องสมุด ,ร้านซักแห้ง

3.พื้นที่ครอบครองอันตรายมาก ได้แก่

3.1 กลุ่มที่ 1 (เกี่ยวข้องกับของเหลวติดไฟฟรือของเหลวไวไฟในปริมาณไม่มาก) ได้แก่ โรงงานหล่อโลหะขึ้นรูปโลหะ  โรงงานผลิตไม้อัด/ไม้แผ่น ,โรงพิมพ์ ,อุตสาหกรรมยาง ,โรงเลื่อย โรงงานสิ่งทอ (ฟอก ย้อม ปั่นด้าย ฟอกขนสัตว์)

3.2 กลุ่มที่ 2 (เกี่ยวข้องกับของเหลวติดไฟฟรือของเหลวไวไฟในปริมาณมาก) ได้แก่ โรงงานผลิตยางมะตอย โรงพ่นสี ,พื้นที่ที่ใช้สารฉีดขนิดของเหลวติดไฟได้ ,อุตสาหกรรมพลาสติก ,โรงงานล้างโลหะด้วยสารละลาย ,การเคลือบสีด้วยการจุ่ม

ดังนั้น การจะเข้าเผชิญเหตุอัคคีภัย พึงใช้แผนเผชิญเหตุตามประเภทพื้นที่ครอบครองจะทำให้การปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมายโดยสวัสดิาพ

————/////—————–