ตามแนวคิดของมิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault) อุปมาให้เห็นว่าอุดมการณ์หรือยุทธศาสตร์การเมืองเรื่องสาธารณภัย (the politics of disaster) ของรัฐสมัยใหม่ในศตวรรษที่ 19 ไม่ได้มีเป้าหมายเพียงเพื่อแก้ไขปัญหาประชาชนประสบภัยพิบัติเท่านั้น แต่มีเป้าหมายเชิงอุดมการณ์เพื่อพัฒนายกระดับเรือนร่างสังคม (the social body)ทั้งหมด ให้มีความปลอดภัยอย่างยั่งยืน
แต่นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 รัฐไทยได้สถาปนากลไกการควบคุมให้มีโครงสร้างที่ใหญ่โตและชัดเจนขึ้น มีเป้าหมายทำให้ปรากฏขึ้นของความสำคัญของภาครัฐในการปกครอง ช่วยให้ภาครัฐมั่นใจว่าจะมีผลงานอย่างเด่นชัดในการดูแลความปลอดภัยที่ดีของสังคม แต่ภายใต้อุดมการณ์ที่บิดเบี้ยวของระบบข้าราชการตัวพ่อตัวแม่ ทำให้ความปลอดภัยที่ดีของสังคมที่ต้องใช้เทคนิควิธีการที่ละเอียดอ่อนและแยบคาย กลับกลายเป็นขุมทรัพย์ ภายใต้เทคนิควิธีการที่ฉ้อฉลแยบคาย ดังนี้
1. ไร้การควบคุม สอดส่อง ศึกษาวิจัยปัจจัยต้นเหตุภัยพิบัติ มองไม่กระจ่างชัดว่าใครเป็นที่ส่วนใหญ่เป็นประชากรกลุ่มเสี่ยงต่างๆ หรือประชากรที่อ่อนแอเปราะบาง ประชากรที่เป็นปัญหาสังคม หรือประชากรชายขอบ อยู่รอดไปวันๆ โดยมุ่งเน้นการสร้างความพึงพอใจการปลอบบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้าที่แอบแฝงด้วยการฉ้อฉล
2. หลอกลวงให้เคลิบเคลิ้มกับบรรทัดฐานทางสังคมที่เห็นแก่ได้เฉพาะหน้า มุ่งเน้นการวิเคราะห์ข้อมูลประชากรที่ตอบสนองความเจริญเติบโตของหน่วยงานภาครัฐ
3. เหมารวมโลกประสบการณ์ของผู้ประสบภัยพิบัติและดึงพวกเขาออกจากบริบททางสังคมวัฒนธรรมที่ดี
4. ละเลย “เสียง” “เรื่องเล่า” และ “ประสบการณ์” ของผู้ประสบภัยพิบัติ ของประชาชนกลุ่มเสี่ยง ของผู้ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ ในระดับปัจเจกบุคคลที่พวกเขาใช้ชีวิต ต่อสู้ ต่อรอง กับสถานการณ์อย่างไรเมื่อต้องเผชิญกับความเสี่ยงด้านภัยพิบัติ(แม้จะมีการดำเนินโครงการการจัดการภัยพิบัติโดยอาศัยชุมชนเป็นฐานก็ตาม) รวมทั้งแง่มุมของเหล่าผู้สถาปนาวัฒนธรรมผู้เชี่ยวชาญ (ที่ทำให้พวกเขาถูกเหมารวมว่าเป็นประชากรกลุ่มเสี่ยงผ่านเทคนิควิธีการทางสถิติที่แอบแฝงซ่อนเร้น
จากเทคนิควิธีการที่ฉ้อฉลแยบคาย ดังกล่าวทำให้รัฐไทยมีภาระต้องใช้งบกลางเกี่ยวกับสาธารณภัยเพิ่มขึ้นจากช่วงก่อนปี 2545 ถึงร้อยละ 350 งบประมาณสำหรับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวกับงานด้านนี้เพิ่มขึ้นปีละ 35,000 ล้านบาท รูปร่างเรือนร่างสังคมตามเป้าหมายเชิงอุดมการณ์ของรัฐกลับกลายเป็นมนุษย์ที่หน้าตาสวยงามแต่ส่วนอื่นเน่าเหม็นมีสัตว์การเมืองแทะกัดกินหรือสัตว์เลี้ยงอันแสนรักของเหล่าข้าราชการตัวพ่อตัวแม่
-----------xxxxxx-----------