วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

การสถาปนาองค์กรแห่งอำนาจนิยมเป็นเป้าหมายอันล้ำลึกของแทบทุกส่วนราชการของประเทศที่ยังไม่โปร่งใส แต่เป็นที่น่าฉงนที่ไม่มีข้อยกเว้นกับหน่วยงาน/องค์กรด้านสาธารณภัยที่จะต้องมีจิตนิยมสาธารณะเป็นที่ตั้งเป็นเข็มทิศทัศนคติในการทำงาน  พฤติกรรมสาธารณะของส่วนราชการที่เราเห็นส่วนใหญ่นั้น มาจากอำนาจหน้าที่ขององค์กร แต่ภายใต้พฤติกรรมเหล่านั้น กลับมีเงาทะมึนของซาตานข้าราชการตัวพ่อตัวแม่ ที่ยึดหลักการบริหารในรัฐราชการไทย ดังนี้

1.เห็นแก่นายจ้า แล้วต้องตามด้วยข้อ 2
2.เห็นแก่ตัว ยังผลให้การทำงานทั้งหมดก็จะมารวมที่ข้อ 3
3.ไม่เห็นหัวประชาชน

สำหรับข้อที่1 และข้อที่ 2 เราคงไปแตะอะไรหน่วยงานเขาไม่ได้มากนักเพราะเขามี ก.พ. /ก.พ.ร. /สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ/สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา/สำนักงบประมาณ/สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน คอยสนับสนุนสร้างความชอบธรรมให้องค์กรดูมีความชอบธรรมที่จะคงอยู่สานต่อการสถาปนาองค์กรแห่งอำนาจนิยม

พวกเราคงพอจะสามารถดูกระบวนการการปฏิบัติงานที่แอบแฝงมายาแห่งการสถาปนาองค์กรแห่งอำนาจนิยมที่พวกเขารับเงินภาษีเรามาทำงานให้เรามีพันาการชีวิตที่ดีขึ้น  แต่จากประว้ติศาสตร์ หาได้เป็นเช่นนั้น  พวกเขาอาจกล่าวได้ว่า “ไม่เห็นหัวประชาชน”   ซึ่งพฤติกรรมไม่เห็นหัวประชาชน เราพิจารณาได้จาก 3 ลักษณะ ต่อไปนี้

1. ทำงานทำการแบบจัดลำดับความสำคัญไม่เป็น

มักจะไม่เคยใช้เงินงบประมาณ หรือใช้ทรัพยากรในเรื่องที่ฉลาด มักทำแต่เรื่องโ….ๆ  แผนงาน/โครงการของพวกเขาเหล่านั้นไม่มีการประสานกันหรือมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกันหรือไม่อย่างไร และได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานงบประมาณ ที่ยังใช้การวิเคราะห์งบประมาณในแบบส่วนที่เพิ่มขึ้น (Incremental Analysis) แทนที่จะใช้การวิเคราะห์อย่างครอบคลุม (Comprehensive Analysis) ไม่เคยพิจารณาว่า ที่ผ่านมามีผลการดำเนินงานน้อยเพียงใด ควรยุบ เลิก หรือเน้นผลงานสำคัญ หรือควบตัดทอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในปีงบประมาณใหม่ มองอย่างเดียวว่าสถิติสาธารณภัยเพิ่มมากขึ้นอนุมัติงบประมาณเพิ่มๆๆๆๆ

2. ไม่ได้คิดถึงประโยชน์สูงสุดหรือความต้องการของผู้ประสบสาธารณภัย/ผู้เปราะบาง/ผู้ที่มีความเสี่ยง

มีหลายอย่างเหลือเกินที่สะท้อนว่าพวกเขา “ทำงานโ.. ๆ” พวกเขาไม่เคยคิดถึงประสิทธิผลที่ผู้ประสบภัยควรได้ความช่วยเหลืออย่างยั่งยืน (กี่หมื่นกี่แสนล้านบาทถมกันเข้าไป สาธารณภัยมีแต่จะเพิ่มขึ้นเพิ่มขึ้นทั้งจากเหตุธรรมชาติและจากใจอันอำมหิตของพวกเขา ไหลรินออกมาเพื่อร่วมกันทั้งขงบวนการในการสร้างเรื่องห่วยแตกสม่ำเสมอแบบลอยนวล

พวกเรา ลองพิจารณาดูการปฏิบัติของพวกเขารอบๆ  ตัวเราครับ  แล้วเราจะตาสว่าง

3. คิดถึงแต่ประโยชน์ของตัวเอง/องค์กรตัวเองเป็นที่ตั้งในการทำงาน

มุ่งมั่นอยากควบคุม/อยู่ในแผนงานความปลอดภัยของตนเอง(ซึ่งส่วนใหญ่มันไม่เป็นจริงขึ้นมาเลย หาประสิทธิผลไม่ได้เลย แต่กลับสร้างภาระให้กับประชาชน) ให้ไม่ดื้อดึงต่อแนวทางความคิดของตนเอง ในลักษณะอำนาจนิยมทำงานเต็มที่ (ดูตัวอย่างเช่นปลายูส ตอนนี้อะครับ) ประชาชนต้องอยู่ในโอวาทที่เชื่อง ควบคุมประชาชนด้วยระเบียบ อันเป็นกลยุทธ์ที่เชี่ยวชาญของข้าราชการตัวพ่อตัวแม่ในรัฐราชการ ชี้ให้ประชาชนกลัวและอยู่ในกฎ เพื่อให้ตัวเองสบาย ได้รับการช่วยเหลือ และไม่ต้องเดือดร้อนมาก (ทั้งๆ ที่ ตัวเองไม่เดือดร้อน ถูกเลี้ยงดูด้วยภาษี แต่กลับเบียดบังเอาจากอำนาจในการใช้จ่ายภาษีมาช่วยเหลือ)

เหมือนกับปลายูสช่วงนี้ วัคซีนที่ห่วย แต่ซื้อมาในราคาสูงลิบ ทำให้โอกาสการสร้าง corruption เกิดขึ้นได้ง่าย และสร้างประโยชน์ทางธุรกิจกับนายทุนที่ผูกขาดรำ่รวยบนความเดือดร้อน  เป็นรูปแบบอำมหิตของรัฐราชการอำนาจนิยม

ทุกวันนี้ งบประมาณการช่วยเหลือด้านสาธารณภัย เพิ่มขึ้นจากการสถาปนาองค์กรขึ้นมารับผิดชอบ จากเดิมปีละ 8,000-9,000 ล้าน เป็นปีละกว่า100,000 ล้านบาทในปัจจุบัน


เรียกได้ว่า นอกจากจะเจอความโหดร้ายจากธรรมชาติแล้ว ยังต้องเจอการไร้ความปราณีจากภาครัฐปรสิต

—————————-