วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

สภาพนิเวศของ New high  New low New normal  ที่ได้ปรากฏขึ้นอย่างชัดเจนในปี 2564  อันเป็นสภาพนิเวศที่เชื่อมโยงสัมพันธ์สอดคล้องกัน ระหว่าง New high กับ New low  สภาพนิเวศดังกล่าวได้กดทับให้ New normal  ดูไร้ความหมายไร้คุณค่าลงไปเป็นอันมาก  ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. New high

1.1 ปฐมบทสภาพนิเวศของ New high ได้เริ่มขึ้นปรากฏชัดขึ้นในเดือนมิถุนายน 2564 อันเป็นผลต่อเนื่องมาจากการระบาดระลอกที่ 3      ที่กลุ่มอภิสิทธิ์ชนในเมืองไทยเป็นคนมอบให้ ประกอบกับเครือข่ายอภิสิทธิ์ชนสายประเทศอินเดียได้แสดงอภินิหาร และอภิสิทธิ์ชนสีเทาทั้งหลายก็ยังแสดงอิทธิฤทธิ์อย่างต่อเนื่อง ไม่คำนึงถึงอันตรายและผลกระทบใดๆ  ภายใต้ระบอบประยุทธ์ชุบตัวเงินตัวทองออกมาผยองเต็มบ้านเต็มเมือง ทำให้ประเทศไทยอุดมด้วยไวรัสโคโรน่า 2019 ที่เด่นๆ ก็มีจำนวน 4 สายพันธ์  https://www.sikarin.com/health/covid-19-4

1.2 อิทธิฤทธิ์สายพันเดลต้า WHO  แถลงเมื่อวันที่ เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2564 ทั้ง 4 สายพันธ์จะแพร่เชื้อได้ง่าย และมีอาการป่วยรุนแรง  และที่ร้ายคือ สายพันธ์เดลต้า ซึ่งต่อมาได้พัฒนาสายพันธ์ขึ้นใหม่เป็นสายพันธ์เดลต้าพลัส จะสามารถหลบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ได้ (นั่นหมายถึงฉีดวัคซีนจนร่างกายมีภูมิต่อต้านแล้ว สายพันธ์นี้ก็สามารถหลบการกำจัดของร่างกายได้)  อิทธิฤทธิของสายพันธ์นี้เริ่มปรากฏให้เห็นว่า คนที่ฉีดวัคซีนแล้ว 2 เข็ม สามารถจะติดเชื้อไวรัสโคโรน่า- 2019 ได้อีก เมื่อรวมกับอิทธิฤทธิ์ของไวรัสสายพันธ์อีก 3 ตัว  ทำให้ระบบสาธารณสุขภายในกรุงเทพมหานคร และปริมนฑลต้องล่มสลาย ไม่มีเตียงให้ผู้ติดเชื้อที่มีอาการป่วย  โรงพยาบาลไม่รับตรวจหาเชื้อไวรัส  ไอ้ที่จำเป็นต้องตรวจก็พบว่าติดเชื้อวันละ 3-6 พันคนต่อวัน  และมีอัตราการตายวันละ 40-60 คนต่อวัน  สถานการณ์เลวร้ายที่เกิดขึ้นภายใต้การกู้เงินมาต่อสู้ 1.9 ล้านล้านบาท แต่ไม่สามารถรับมือได้  แต่กลับออกนโยบายผลักภาระการรักษากระจายไปต่างจังหวัด

1.3 ร่องรอยที่บ่งชี้ให้มองเห็นอนาคต จากสภาพนิเวศ New high ดังกล่าวข้างต้น เป็นข้อบ่งชี้ว่าพัฒนาการของไวรัสสูงกว่าพัฒนาการของรัฐบาลไทยโดย ศบค. จึงไม่อาจจะลดความสูญเสียของประชาชนคนไทยในระยะเวลาสั้นๆ ได้ ต้องลากยาวถึงกลางปี 2565 และหวังว่าถึงเวลานั้นจะสามารถสยบไวรัสโควิด -2019 ได้

2. New low

2.1 บริบทสภาพนิเวศของ New low การบริหารสถานการณ์ถูกขับเคลื่อนจากมุมมองข้าราชการตัวพ่อตัวแม่ที่เติบโตมาอยู่ระดับสูงสุดจากผลงานดีเยี่ยมในระบอบเจ้าขุนมูลนายที่การทำงานเพื่อประชาชนเป็นเพียงการสร้างวาทกรรมป้องกันตนเอง และโดยเฉพาะคนที่มีอำนาจ มากๆ ในการบริหาร มาจากค่ายทหารที่แทบจะไม่เคยได้สัมผัสการลวงประชาชนด้วยแผนงาน/โครงการใดๆ  มีเพียงวาทกรรมมลอยๆ ก็เป็นเกาะกำบังให้ตนเองลอยนวลได้แล้ว  ผลงานการบริหารในสถานการณ์วิกฤตจึงสะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมไม่เห็นหัวประชาชนอย่างชัดเจน  สั่งสอน โยนความล้มเหลวให้  กลบเกลื่อน ยัดระเบียบกฎหมายให้กับผู้ที่ออกมาแสดงความคิดเห็นโต้แย้งกับการทำงานของตน  แต่นั่นก็เป็นเพียงพฤติกรรมบนผิวน้ำเท่านั้น พฤติกรรมที่จมอยู่ใต้น้ำนั้น สร้างความฉิบหายให้ชาติไปหลายสิบปี

2.2 ผลลัพธ์จากสภาพนิเวศของ New low ดังกล่าวในข้อ 2.1 ได้ส่งผลกระทบที่สำคัญ 3 ด้าน คือ

1) การต่อสู้กับการแพร่ระบาด

1.1) ไม่ทันกับความเร็วของการระบาด โดยมีสถิติพุ่งขึ้นเรื่อยๆ  คนตายเฉลี่ย 50-60 คนต่อวัน  ให้ข้อมูลว่าพบคนติดเชื้อวันละ 5-6 พันคนต่อวัน  แสดงให้เห็นว่าการทำงานยังไม่ทันต่อการแพร่ระบาด https://covid19.workpointnews.com/

1.2) เครื่องมือที่ใช้ต่อสู้  ยังคงขาดแคลนไม่ว่าจะเป็นวัคซีน เครื่องช่วยหายใจ เตียงให้คนไข้นอนรักษาในโรงพยาบาล ชุดตรวจการติดเชื้อ  รัฐบาลใช้เงินที่กู้มาไปกับการแจกชาวบ้านแบบชิงโชค  ให้ ส.ส.ไปชี้นิ้วอนุมัติงบประมาณของส่วนราชการต่างๆในจังหวัดที่ตนได้รับเลือกตั้ง หลายหมื่นล้านบาท การซื้อวัคซีนก็ทุ่มซื้อเฉพาะบางยี่ห้อ




2) การพัฒนาประเทศ

2.1) ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ดูเหมือนจะดูขึงขังมีประสิทธิภาพ ที่มีการจัดการเรียนการสอนแบบ On-site  On-air   On-line  On-hand  On-demand ระดับอุดมศึกษาก็พอจะถูไถไปได้บ้างที่ได้รับการสนับสนุนทุนการศึกษาจึงราบรื่นกับการเรียนแบบ On-line  แต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานบางพื้นที่แทบจะเรียกว่าอยู่บ้านเฉยๆ  เพราะศักยภาพที่แท้จริงก็อยู่มี่การเรียนการสอนแบบ On-site

2.2) ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ กิจกรรมทางเศรษฐกิจได้หดตัวลงตั้งแต่กลางปี 2563 จากผลกระทบจากมาตรการต่อสู้การแพร่ระบาด โดยเฉพาะการห้ามการเดินทางเข้าประเทศของต่างชาติทั้งหมด เป็นสภาพที่ดำเนินนโยบายโดยขาดสมดุลระหว่างด้านสุขภาพและด้านเศรษฐกิจ แม้ในปี 2564 รัฐบาลจะได้นำเงินกู้มาอัดฉีด และกระตุ้นภาคการท่องเที่ยวแต่ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศที่อยู่ในอันดับต้นๆ ของโลกทำให้ภาคการท่องเที่ยวไม่สามารถฟื้นตัวได้ และรัฐบาลก็สร้างความฝันลมๆ แล้งกับ มาตรการ reskill หรือ upskil และ lean production http://econ.nida.ac.th/2021/03/%E0%B8%9

2.3) ด้านการพัฒนาสังคม อยู่ในภาวะไม่แยแสต่อการพัฒนา ยังคงมีการสืบต่อระบบอุปถัมภ์กันอย่างเข้มแข็งต่อเนื่อง คนที่มีเส้นมีสายมีเงินมีคนรู้จักถึงจะได้เตียงรักษา ได้รับการคัดสรรจัดสรรให้ได้รับการฉีดวัคซีน

3) สังคมอ่อนแอเปราะบาง รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายที่สร้างปัญหาในการดำรงชีวิตต่อประชาชนครั้งแล้วครั้งเล่า โดยมุ่งหวังจะลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส  แต่กลับสร้างสภาวะความเครียด โรคซึมเศร้า รวมทั้งบางคนสิ้นหนทางทำมาหากินไม่มีทางออกในการดำรงชีวิตต่อไปต้องตัดสินใจจบชีวิตตนเอง บางคนกลับถลำลึกนำชีวิตคนในครอบครัวจากไปด้วยกัน

2.3 ร่องรอยที่บ่งชี้ให้มองเห็นอนาคต การดำเนินนโยบายที่ถ่างช่องว่างระหว่างชนชั้นให้ชัดเจนและห่างกันมากยิ่งขึ้น สร้างความเหลื่อมล้ำโดยขาดทักษะการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ

3. New normal

3.1 บริบทของ New normal  โควิด-19 ทำให้วิถีชีวิตผู้คนส่วนใหญ่เปลี่ยนแปลงไปสู่ความปกติรูปแบบใหม่ ในทุกๆ ด้าน ทั้งไลฟ์สไตล์ ธุรกิจ สาธารณสุข การศึกษา ฯลฯ มีการปรับหาวิถีการดำรงชีวิตแบบใหม่เพื่อให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อ พฤติกรรมที่เคยทำมาเป็นกิจวัตร  ทั้งในด้านอาหาร การแต่งกาย การรักษาสุขอนามัย การศึกษาเล่าเรียน การสื่อสาร การทำธุรกิจ ฯลฯ จะมีการปรับเปลี่ยนใหม่  โดยมีรูปแบบมาตรฐานให้ปลอดจากการติดเชื้อ คือ มาตรการหลัก D-M-H-T-T

1)D – Distancing ให้เว้นระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อยหนึ่งเมตร

2)M – Mask weasring ให้ทุกคนสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า เมื่อออกจากที่พักอาศัย

3)H – Hand washing ล้างมือด้วยสบู่ แอลกอฮอล์ หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค เมื่อหยิบ จับสิ่งของในที่สาธารณะ

4)T – testing ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย หรือคัดกรองอาการป่วยในระบบทางเดินหายใจ ทุกครั้งก่อนเข้าสถานที่สาธารณะ

5)T – Thaichana ลงทะเบียนแพลตฟอร์มไทยชนะ หรือแพลตฟอร์มหมอชนะ ในการเข้าออกสถานที่สาธารณะ

ทั้งนี้ ราชบัณฑิตยสภา ได้บัญญัติศัพท์ "New Normal" ว่า ความปกติใหม่ , ฐานวิถีชีวิตใหม่ หมายถึงรูปแบบการดำเนินชีวิตอย่างใหม่ที่แตกต่างจากอดีต อันเนื่องจากมีบางสิ่งมากระทบ จนแบบแผนและแนวทางปฏิบัติที่คนในสังคมคุ้นเคยอย่างเป็นปกติและเคยคาดหมายล่วงหน้าได้ ต้องเปลี่ยนแปลงไปสู่วิถีใหม่ภายใต้หลักมาตรฐานใหม่ที่ไม่คุ้นเคย

3.2 ผลลัพธ์ของ  New normal สังคมไทยไม่ได้มีทัศนคติทางลบต่อมาตรการหลัก D-M-H-T-T ดังนั้นผู้คนส่วนใหญ่ก็ปรับเปลี่ยนวิถึชีวิตเข้าสู่ความปกติรูปแบบใหม่ได้อย่างดี

3.3 ร่องรอยที่บ่งชี้ให้มองเห็นอนาคต แม้คนไทยจะได้ปรับวิถีชีวิตเป็นแบบ New normal แต่ก็ไม่สามารถมีชีวิตที่ดีที่ปลอดภัยภายใต้ New normai ได้ เพราะมี New low กดขี่อย่างที่ไม่เคอะเขินอันใดต่อการรับเงินของประชาชนไปแล้วกลับไม่นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับประชาชนอย่างแท้จริง ประกอบกับสถานการณ์ New high ก็จะทำให้อนาคตข้างหน้าของประชาชนชาวไทยจึงต้องทุกข์ลำเค็ญแสนเข็ญต่อไปอีกนาน อย่างน้อยก็น่าจะเกือบสิบปี

-------------xxxxxxxxx------------