วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ความรับผิดชอบส่วนบุคคลด้านความปลอดภัยภายใต้รัฐราชการที่กดขี่ขูดรีด มีความสัมพันธ์เชิงสัมพัทธ์กับความเป็นนายตัวเองภายใต้สถานการณ์บีบบังคับหรือกดขี่ขูดรีด ด้วยที่ว่าภายใต้รัฐราชการที่กดขี่ขูดรีดระเบียบกฎหมาย  กฏเกณฑ์ข้อบังคับต่างๆ เพื่อความปลอดภัย เป็นสิ่งที่ทำได้ภายในข้อตกลงลับๆ ล่อๆ

ไม่มีข้อยกเว้นใดๆ แม้กับด้านความปลอดภัย ที่ปกติมนุษย์ตามสามัญสำนึกก็น่าจะเกิดความกลัว ความระแวดระวังเป็นพิเศษ อยู่ภายใต้ข้อกำหนดกฏเกณฑ์ที่เป็นที่ยอมรับกันเป็นมาตรฐานสากล  แต่ภายใต้รัฐราชการที่กดขี่ขูดรีดสามัญสำนึกเหล่านั้นจะถูกย่ำยี เอาผลประโยชน์ที่ไม่สามาถเปิดเผยให้สาธารณชนได้รับทราบได้ โดยมี พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ.2540 อยู่เป็นเกราะกำบัง (ประเมินจากส่วนราชการด้วยกันทุกส่วนมีการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติอย่างดีเยี่ยม ปีนี้เอาโบนัสไป)

ยิ่งประกอบด้วยรัฐบาลลูกจ้างเจ้าสัวเงินเดือนประชาชนจ่ายได้เข้ามามีอำนาจในการปกครองด้วยแล้ว มิเพียงแต่ระเบียบกฎหมาย กฏเกณฑ์ข้องบังคับเดิมจะถูกย่ำยี แต่ยังสร้างระเบียบกฎหมายขึ้นใหม่ เพื่อประโยชน์ด้านอื่นๆ ที่ไม่ยี่หระต่อความปลอดภัยของมนุษย์ ความสมดุลของสภาพแวดล้อม และความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ

สาพนิเวศดังที่กล่าวมาข้างต้น ได้เกิดขึ้นในเมืองไทยในหลายq ด้าน แต่ ณ ที่นี้จะกล่าวถึงความปลอดภัยของโรงงาน โดยไล่เรียงประวัติศาสตร์ความปลอดภัย เป็น 2 ระยะ อันจะทำให้เห็นภาพความรับผิดชอบส่วนบุคคลภายใต้รัฐราชการกดขี่ขูดรีด คือ ระยะขออนุญาตก่อนเปิดโรงงาน  และระยะการดำเนินงาน

1.ความปลอดภัยในระยะขออนุญาตก่อนเปิดโรงงาน

1.1 ความปลอดภัยเดิมที่อยู่ภายใต้รัฐราชการกดขี่ขูดรีด

การตั้งโรงงานหมายถึง การก่อสร้างอาคารเพื่อติดตั้งเครื่องจักร  จะมีการควบคุมการก่อสร้างอาคารสำหรับการประกอบอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ  ให้มีมาตรฐานความปลอดภัย

1.2 ความปลอดภัยใหม่ที่อยู่ภายใต้รัฐราชการกดขี่ขูดรีดและรัฐบาลลูกจ้างเจ้าสัวเงินเดือนประชาชนจ่าย ได้ออก พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2562 ฉบับใหม่  ทำให้ความปลอดภัยมีความเสี่ยง และส่งผลเสียโดยรวม ดังนี้

1) แก้ไขนิยาม “การตั้งโรงงานหมายถึง การนำเครื่องจักรมาติดตั้งในอาคาร” ส่งผลให้เปิดช่องให้สร้างอาคารโดยไม่ต้องขอใบอนุญาตโรงงาน หรือสามารถนำอาคารเก่ามาดัดแปลงติดตั้งเครื่องจักรในภายหลัง

2) เพื่มนิยาม “ผู้ตรวจสอบเอกชน ให้บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่มีใบอนุญาตสามารถตรวจสอบโรงงานแทนเจ้าหน้าที่รัฐ แม้จะมีส่วนช่วยอำนวยความสะดวกในการจัดตั้งโรงงานได้ง่ายขึ้น แต่ภายใต้การบริหารจัดการของระบบรัฐราชการกดขี่ขูดรีดและรัฐบาลลูกจ้างเจ้าสัวเงินเดือนประชาชนจ่าย จะส่งผลให้เอกชนช่วยเหลือกันทุจริตในการตรวจสอบความปลอดภัย แม้จะเป็นการกระจายการกดขี่ขูดรีดออกไป แต่กลับจะเป็นการเพิ่มต้นทุนผู้ประกอบการ (แม้จะง่ายแต่จ่ายสูงกว่ารัฐ) ทำให้ประชาชนได้รับการให้บริการสินค้าที่มีต้นทุนสูงทำให้มีราคาสูง

2.ระยะการดำเนินงาน

2.1 ความปลอดภัยเดิมที่อยู่ภายใต้รัฐราชการกดขี่ขูดรีด

1) โรงงานต้องขอต่อใบอนุญาตทุก 5 ปี ใหเจ้าหน้าที่ตรวจสิบความปลอดภัย เพื่อพิจารราต่อหรือไม่ต่อใบอนุญาต

2) นิยาม “โรงงาน หมายถึง อาคารสถานที่พาหนะ ที่ใช้เครื่องจักร ตั้งแต่ 5 แรงม้าขึ้นไป หรือใช้คนงาน ตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป

2.2 ความปลอดภัยใหม่ที่อยู่ภายใต้รัฐราชการกดขี่ขูดรีดและรัฐบาลลูกจ้างเจ้าสัวเงินเดือนประชาชนจ่าย ได้ออก พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2562 ฉบับใหม่ ทำให้ความปลอดภัยมีความเสี่ยง และส่งผลเสียโดยรวม ดังนี้

1) ยกเลิกระบบการต่อใบอนุญาต ส่งผลให้ โรงงานไม่ถูกตรวจสอบความปลอดภัยทุก 5 ปี

2) ให้นิยามโรงงานใหม่ว่า หมายถึง อาคาร สถานที่ พาหนะ ที่ใช้เครื่องจักร ตั้งแต่ 50 แรงม้าขึ้นไป หรือใช้คนงานตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป ”  ส่งผลให้โรงงานขนาดเล็กกว่า 60,000 แห่ง ไม่ถูกกหมายโรงงานกำกับ ตั้งโรงงานได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงผังเมือง(เพราะไม่ใช่โรงงานนะจ๊ะ)

———xxxxxx———–