เนื่องจากความเปราะบางมีนิยามว่า “สถานภาพที่เป็นอยู่หรือระบบนิเวศที่เป็นอยู่เปิดรับความเสียหายหรือความสูญเสีย” ดังนั้น ระดับความเปราะบาง จึงหมายถึง การกำหนดปริมาณมากน้อย/สูงต่ำของความเสียหายหรือความสูญเสียทางด้านสภาพเศรษฐกิจ สภาพนิเวศสิ่งแวดล้อมและสภาพสังคมที่เป็นผลจากการตอบสนองต่อภัยพิบัติที่เกิดขึ้น
ส่วนประเภทความเปราะบาง จะให้ขอบเขตประเด็นการพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพอารมณ์จิตใจ และวัฒนธรรมของมนุษย์กับระบบนิเวศสิ่งแวดล้อม โดยนิยมใช้ขอบเขตประเด็นการพิจารณา 4 ประเด็น คือ
1. ความเปราะบางทางสังคม
ระดับความเปราะบางทางสังคมเป็นปริมาณความอ่อนด้อยวัฒนธรรมของประชากรในสังคม อันพร้อมที่จะเปิดรอรับภัยพิบัติอยู่
2. ความเปราะบางทางสภาพจิตใจ
ระดับความเปราะบางทางสภาพจิตใจเป็นปริมาณของความรู้สึก/ความคาดหวังจากการคงอยู่การเปลี่ยนแปลงของสภาพนิเวศ สภาพเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ที่เคยชินและสภาพสังคม (คนแตะไม่ได้ของฉัน พึ่งพาตนเองได้จำกัดไม่สามารถยืดหยุ่นได้ จะเปราะบางสูงทางสภาพจิตใจ)อันพร้อมพรั่งอย่างไรที่เปิดรับภัยพิบัติอยู่
3. ความเปราะบางทางการศึกษา (ความรู้ความเข้าใจ)
ระดับความเปราะบางทางการศึกษาเป็นปริมาณข้อมูลที่ใช้ประกอบการพิจารณาหรือจะสามารถเข้าใจได้ว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้จะดำเนินการไปอย่างไรภายใต้ปัจจัยอย่างไรบ้าง อันพร้อมพรั่งอย่างไรที่เปิดรับภัยพิบัติอยู่
4. ความเปราะบางทางระบบนิเวศสิ่งแวดล้อม
ระดับความเปราะบางทางระบบนิเวศสิ่งแวดล้อมเป็นปริมาณการเปลี่ยนแปลงความเสียหายของระบบนิเวศสิ่งแวดล้อมอันพร้อมพรั่งอย่างไรที่เปิดรับภัยพิบัติอยู่
————-xxxxxxxxxx————————-