วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

การเรียกต้องเรียกตามที่กฎหมายนิยามความหมายไว้  ซึ่งมีการกำหนดความหมาย ดังนี้

1.ระดับกฎหมายที่เป็น พ.ร.บ. คือ พรบ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550

ตามมาตรา 4 ในระเบียบดังกล่าว ให้ความหมายของ สาธารณภัย ไว้ว่า “อัคคีภัย วำตภัย อุทกภัย ภัยแล้ง โรคระบาดในมนุษย์ โรคระบาดสัตว์ โรคระบาด สัตว์น้ำ การระบาดของศัตรูพืช ตลอดจนภัยอื่น ๆ อันมีผลกระทบต่อสาธารณชน ไม่ว่ำเกิดจำกธรรมชาติ มีผู้ทำ ให้เกิดขึน อุบัติเหตุ หรือเหตุอื่นใด ซึ่งก่อให้เกิดอันตรำยแก่ชีวิต ร่างกายของประชาชน หรือความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชน หรือของรัฐ และให้หมายความรวมถึงภัยทางอากาศ และการก่อวินาศกรรมด้วย”

ทั้งนี้ พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าว ไม่ได้ให้ความหมายของคำว่าภัยพิบัติไว้

2. ระดับกฎหมายที่เป็นระเบียบ ได้แก่

2.1 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่ำด้วยการบริหำรระบบการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ พ.ศ. 2552
ได้ให้ความหมายคำว่า “ภัยพิบัติ” หมำยความว่า ภัยที่เกิดจากอุบัติเหตุเนื่องจากการจราจรทางบก ทางน้ำ หรือทางอากาศ อุบัติเหตุ เนื่องจากการท ำงาน หรือุบัติเหตุที่เกิดขึนในบ้ำนหรือในที่สาธารณะ

2.2 ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่ำด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2556 (บังคับใช้ 19 กุมภำพันธ์ 2556)
ได้ให้ความหมายคำว่า “ภัยพิบัติ” หมายความว่าสาธารณภัยอันได้แก่ อัคคีภัย วำตภัย อุทกภัย ภัยแล้ง ภาวะฝนแล้งฝนทิ้งช่วง ภัยจากลูกเห็บ ภัยอันเกิดจากไฟป่ำ ภัยที่เกิดจำกโรคหรือการระบาดของแมลงหรือศัตรูพืชทุกชนิดอากาศหนาวจัด ผิดปกติ ภัยสงครำม และภัยอันเนื่องมาจากการกระท ำของผู้ก่อการร้ำย กองกำลังจำกนอกประเทศ ตลอดจน ภัยอื่น ๆ ไม่ว่ำเกิดจำกธรรมชำติ หรือมีบุคคลหรือสัตว์ท ำให้เกิดขึ น ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่ำงกายของ ประชาชน หรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชำชน
จากนิยาม ตามระเบียบฯ ดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหาตามมาในการดำเนินการช่วยเหลือที่เป็นธรรม  โดยภาครัฐที่อ่อนด้อยและด้อยค่าประชาชน โดยไปตีความหมายของสาธารณภัยว่าต้องกระทบต่อสาธารณชน คนหมู่มาก เป็นวงกว้าง จึงจะช่วยเหลือได้  เสียหายแค่คนเดียวครอบครัวเดียวบ้านหลังเดียวไม่อาจช่วยเหลือได้  (ทั้งที่ สาธารณชนก็คือคนทั่วไป  หรือเป็นการครอบครองทั่วไปที่ไม่อยู่ในความรับผิดชอบของรัฐหรือของหน่วยงานภาครัฐ

จากที่กล่าวมาข้างต้น ควรจะเรียกความเสียหายจากธรรมชาติและที่มนุษย์ทำให้เกิดขึ้นว่า “ภัยพิบัติ”  ควรต้องเรียก “สาธารณภัย” เมื่อต้องจำเป็นต้องไปเกี่ยวข้องกับเจ้านายท่าน ท่านขุนน้อยใหญ่ตามหน่วยงานต่างๆ ถ้าท่านวินิจฉัยว่าเป็น สาธารณภัย มีกฎหมายหลายฉบับให้ค่าชดเชยเยียวยาผลกระทบหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสาธารณภัย  แต่ระวังเหล่าท่านขุนจะวิ่งเข้ามาหาเข้าหลอกล่อ แอบจิกเงินช่วยเหลือกันบ้าง  ประเทศไทยสูญเงินจากเรื่องนี้นับแสนล้านบาทมาแล้ว

 

xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx