รูปแบบการตัดสินใจในภาวะวิกฤตมี 5 รูปแบบ การตัดสินในภาวะวิกฤตแบบท่านขุนจะเป็นรูปแบบแรกที่จะกล่าวย่อๆ สั้นๆ ให้ทราบ กล่าวคือ การตัดสินใจในรูปแบบนี้จะไม่หาข้อมูลอะไรทั้งสิ้น จะตัดสินใจโดยอาศัยการประมวลความคิดของตนเองล้วนๆ (สังขาร) คิดเองเออเอง เข้าใจไปเอง สรุปเอาเอง การแจกแจงที่จะทำให้เราพอจะเข้าใจการตัดสินในในรูปแบบนี้ ดังนี้
1. ข้อมูลที่ใช้คือสมมติฐานภายในใจของตนเองและความรู้สึกบางอย่าง
2.ผลดีผลเสียที่เกิดขึ้นหรือประสิทธิภาพที่เกิดขึ้น
2.1 ผลดีจะมีผลทางอารมณ์ความรู้สึกมากกว่าจะได้การปฏิบัติที่อยู่บนฐานความรู้หรือทฤษฎี หรือมีหลักฐานข้อพิสูจน์ที่ยืนยันได้ว่าทำตามการตัดสินใจในลักษณะนี้แล้วได้ผลดี ดังนั้น จะใช้ได้ผลดีในช่วงการเตรียมพร้อมต่อสู้กับสาธารณภัย หรือในช่วงฟื้นฟูบูรณะจะใช้ได้ผลดี จะได้นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ
2.2 ผลเสีย ส่วนใหญ่แล้วจะไม่สามารถระงับจัดการสาธารณภัยให้เสร็จสิ้นได้โดยเร็ว จะช้าสับสนและสิ้นเปลืองทรัพยากร
กรณีตัวอย่างการตัดสินใจลักษณะนี้ เช่น ในปี 2563-2564 ประเทศสารขัณฑ์ได้อยู่ในภาวะวิกฤตจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 รัฐบาลได้ดำเนินการตัดสินใจบริหารจัดการแบบท่านขุน ไม่หาข้อมูลจำนวนผู้ติดเชื้อ และภาวะการคงอยู่หรือหมดไปของเชื้อไวรัส เพียงแต่ออกมาตรการกลวงๆ กว้างขวางเพื่อให้ดูว่ามีภูมิปัญญา เช่น ปิดร้านอาหาร ร้านค้า ห้ามออกจากเคหสถานบางช่วงเวลา เอากว้างเอาใหญ่แล้วอวดอ้างว่าตนเองบริหารจัดการเก่งโคตร นานาชาติต่างยอมรับ แต่ด้วยการตัดสินใจบริหารแบบท่านขุนแบบที่ชำนาญตั้งแต่อยู่ในค่ายทหาร เมื่อเชื้อไวรัสแพร่ระบาดอีกระลอกหลังจากเคลมผลงานให้กองเชียร์ได้ปลาบปลื้มแล้ว เป็นระลอกที่เชื้อไวรัสมีพัฒนาการแพร่ระบาดได้ง่ายขึ้น ผนวกกับมีสายพันธ์ใหม่ที่สามารถหลบหลีกภูมิคุ้มกันได้ ทำให้มีผู้ป่วยที่มีอาการวันละไม่ตำ่กว่า 5,000 คน ล้มตายไม่ตำ่กว่าวันละ 50 คน
ทำให้รู้ได้ชัดว่าที่ผ่านมามีการตัดสินใจแบบท่านขุน เพราะเมื่อระบาดอีกระลอก รํฐบาลไม่เคยคิดที่จะจัดเตรียมวัคซีนมาฉีดสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้กับประชาชน สั่งหยุดสั่งปิดเขาไปทั่วโดยขาดข้อมูลหลักฐานที่ชัดเจน ไม่ตรวจหาคนติดเชื้อแล้วเอาไปดูแลห่างจากคนไม่ติดเชื้อไวรัส ยกตีวอย่างเช่น ในโรงเรียนหนึ่งแทนที่จะตรวจหาการติดเชื้อ ถ้าพบก็ดูแลรักษาเด็กที่ติดเชื้อ ไม่จำเป็นจะต้องปิดโรงเรียนทำให้เด็กคนอื่นไม่ได้มาโรงเรียน เป็นต้น
————-