วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

สังคมไทยมีการใช้โซเซียลมีเดียกันเป็นจำนวนมาก  มีจำนวนบัญชีที่เปิดกับ Facebook มากประเทศหนึ่ง อยู่ในลำดับ 10 อันดับแรกของประเทศในโลก  รวมทั้งยังนิยมใช้โซเซียลมีเดียแพลตฟอร์มอื่นๆ อีกมาก เช่น Twitter , Line ,instagram , Tiktok เป็นต้น  กฎเกณฑ์การใช้กว้างๆ มี 3 หลักเกณฑ์ ได้แก่

1. กฎหมาย  ที่มุ่งคุ้มครองบุคคลมิให้ได้รับความเสียหาย

2. มาตรฐานทางสังคม (Socail norm)  เพื่อควบคุมการแสดงออกให้ถูกกาลเทศะ

3. กฏเกณฑ์ของแต่ละแพลตฟอร์ม  ส่วนใหญ่มุ่งรักษามนุษยธรรม


โซเซียลมีเดียกับสาธารณภัยนั้น เราจะต้องพัฒนาให้เป็นของคู่กันหรือเป็นเครื่องมืออันสำคัญอย่างหนึ่งสำหรับสาธารณภัย มีจุดเด่นหรือข้อดีหลายๆ ประการ ที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในช่วงเวลาวิกฤต เนื่องด้วยสภาพนิเวศของโซเซียลมีเดียต่างๆ กล่าวคือ

1.สามารถเข้าถึงแพลตฟอร์มได้โดยเสรี  และตอบสนองต่อสัตว์สังคมอย่างมนุษย์ได้ดี ในแง่ที่ให้มนุษย์แสดงออกสิ่งที่อยู่ในใจของงตนเองให้สังคมรับรู้  และสามารถรับรู้ความรู้สึกและความคิดของผู้คนรอบข้าง

2.ในช่วงเวลาวิกฤต มีข่าวสารมากมายที่พรั่งพรูออกมาจากสังคม ทั้งจากบุคคล กลุ่มคน องค์กร แม้บางส่วนอาจจะไม่ใช่ความจริง เป็นการปล่อยข่า การโจมตีบุคคล แต่ก็สามารถตรวจสอบวิเคราะห์ได้เพราะไม่ได้ถูกจำกัดการเข้าถึงบัญชีของผู้ใช้  แต่ส่วนที่เป็นความจริงและนำมาใช้ประโยชน์ในงานสาธารณภัยนั้นมีคุณค่าอนันต์

จุดด้อยหรือปัญหาอุปสรรคในการนำโซเซียลมีเดียมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในช่วงเวลาวิฤตหรือช่วงประสบสาธารณภัย มีด้วยกันหลายๆ ประการ

1. ข้าราชการที่สืบสันดานมาจากยุคเวียงวังคลังนา จะไม่ชอบนำโซเวียลมีเดียมาใช้ประโยชน์ ด้วยมีคำที่ไม่เพราะเสนาะหู  คำติมากกว่าคำชม  ข้อมูลดีๆ สำหรับการทำงานของตนเองที่จะทำให้ตนเองทำงานเชิงรุกได้อย่างมีประสิทธิภาพก็เลยไม่มี  ซี้ซั๊วทำตามที่เจ้านายตามสันดานตัวเองสั่ง/ชี้นิ้ว (มองไม่เห็นเจ้านายตัวจริง อย่างนี้ต้องปฏิรูป)

2. นำมาประยุกต์ใช้โดยไม่มีคุณค่า ข้าราชการบางคนหน้าบานเชียว เดี๋ยวนี้เขาทำงานผ่าน Line กันแล้วพะน่ะ แต่คุณค่าของงานที่ทำที่ประชาชนจะได้รับประโยชน์ มันยิ่งห่างไกลออกไปจากประชาชน  ผ่าน Application ผ่าน Line อะไรก็ช่างเถอะ ถ้าประชาชนยังไม่ได้ร่วมใช้ร่วมได้รับบริการผ่านช่องทางนี้ด้วย ก็ไร้คุณค่า

xxxxxxxxxxxxx