ในเดือนมิถุนายน – กันยายน 2564 ประเทศไทยเผชิญสถานการณ์วิกฤตจากการแพร่ระบาดไวรัสโคโรน่า 2019 ระบบสาธารณสุขปกติไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการการรักษาพยาบาลได้ รัฐบาลทหารเฒ่าก้นกุฏิจากเขาสามร้อยยอด (ตูดปอดยอดขุนพล ประกาศก้าวกลางศพประชาชนที่ล้มตายวันละ 150-200 ราย “จะไม่ทิ้งประชาชน เราจะชนะไปพร้อมๆ กัน”) กลับบริหารจัดการไม่ให้ตัวเลขคนที่จะเข้าโรงพยาบาลน้อยลง จนบางแห่งไม่รับตรวจหาเชื้อไวรัสในร่างกายเอาดื้อๆ ผู้ป่วยแม้การโทรเข้าระบบสาธารณสุขก็ต้องรอเตียงนอกโรงพยาบาลวันละ 1, 000 – 2,000 รายต่อวัน
ในสถานการณ์วิกฤตนั้น จะต้องมีการจัดระบบการรักษาพยาบาลในภาวะวิกฤต เป็น 2 รูปแบบ คือ
1.ระบบการรักษาพยาบาลเชิงพื้นที่
แยกเป็นพื้นที่การบริหารจัดการการรักษาพยาบาล 4 พื้นที่ คือ
1.1 พื้นที่สีแดง คือ พื้นที่ที่ให้การรักษาพยาบาลผู้ติดเชื้อ 4 ประเภท ได้แก่ ในโรงพยาบาลหลัก โรงพยาบาลสนาม สุานที่พักคอยเข้ารับการรักษาพยาบาล และบ้านผูู้ป่วยติดเชื่อรักษาตัวกับแพทย์และพยาบาล
1.2 พื้นที่สีส้ม คือ พื้นที่ที่พบว่ากำลังมีการแพร่ระบาดโดยผู้อาศัยอยู่ประจำพื้นที่นั้น และมีปฏิบัติการตรวจคัดกรองผู้ติดเชื้อเข้ารับการรักษาพยาบาล
1.3 พื้นที่สีเหลือง คือ พื้นที่การสอบสวนโรคพบว่ามีผู้ติดเชื้อเดินทางไปในพื้นที่ แต่ผู้อาศัยอยู่ประจำไม่มีการติดเชื้อ
1.4 พื้นที่สีเขียว คือ พื้นที่/สถานที่ที่ตรวจสอบแล้วไม่มีผู้ติดเชื่อ และการสอบสวนโรคแล้วไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปู้ติดเชื้อ
การจัดพื้นที่ของรัฐบาลทหารเฒ่าก้นกุฏิจากเขาสามร้อยยอด (ตูดปอดยอดขุนพล ประกาศก้าวกลางศพประชาชนที่ล้มตายวันละ 150-200 ราย “จะไม่ทิ้งประชาชน เราจะชนะไปพร้อมๆ กัน”) ได้แบ่งพื้นที่เป็นรายจังหวัดให้เป็นสีแดง สีแดงเข้ม สีส้ม สีเหลือง สีเขียว ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและเหล่าข้าราชการตัวพ่อตัวแม่นั่งสั่งปิดโน่นปิดนี่ (แต่ไม่กล้าปิดกิจการเจ้าสัวพะน่ะ ปิดได้เฉพาะพวกทาสในเรือนจังหวัดพะน่ะ) https://www.dailynews.co.th/politics/814880/
แนวทางที่ถูกต้องทุกจังหวัดจะต้องพิจารณาบริหารจัดการ 4 พื้นที่ดังกล่าวข้างต้น ทำไม่เป็นเขียนกฎหมายขึ้นใหม่ให้ นายก อบจ.รับผิดชอบบริหารจัดการแทน ยุบเลิกผู้ว่าราชการจังหวัดไป (รวมทั้งส่วนราชการภูมิภาคที่เข้าข่ายเป็นปรสิต ต้องยุบเลิกส่วนที่เป็นปรสิตออกไปด้วย) ดูยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการที่เขามุ่งเน้น 1.ห้ามไม่ให้พูดถึงปัญหา 2. เปลี่ยนคำให้ดูซอฟต์ลง พาสเทล ๆ 3. โกหกตาใส ใส่ร้ายคนเสนอความจริง 4. “โยนความรับผิดชอบให้ประชาชน”
2.ระบบการรักษาพยาบาลเชิงเครื่องมือทางการแพทย์
แยกบริหารจัดการให้เป็นส่วนๆ 2 ส่วนหลัก กล่าวคือ
2.1.ส่วนที่หนึ่ง ส่วนในโรงพยาบาลหรือแพทย์และทรัพยากรทางการแพทย์ แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1) ประเภทที่หนึ่ง โรงพยาบาลหลัก
2) ประเภทที่สอง โรงพยาบาลสนาม
2.2.ส่วนที่ 2 ส่วนนอกโรงพยาบาล แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1) สถานที่พักคอยเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาล เป็นสถานที่ที่ อปท.+ รพ.สต.+ ชุมชน จัดสถานที่รักษาพยาบาลเบื้องต้น (Community Isolation)https://drive.google.com/file/d/1fMJxjsrd9yLmuucdX4dAAeXpNe_ky53w/view?fbclid=IwAR09glU30uIrUfU8ytu-ONCj6m41yH9UB1xc6Zo3Hi9yKXe4UsXxcHdPH8g
มีการเฝ้ารักษาพยาบาลเบื้องค้น โดย จนท. รพ.สต. และ อสม. และติดตามอาการผ่านการสื่อสาร เช่น วิดีโอคอล เทเลเมดิซีน วันละ 2 ครั้ง มีการเตรียมระบบส่งต่อไปยังสถานพยาบาลหากอาการรุนแรงขึ้น และยังมีส่งอาหารให้ผู้ป่วย 3 มื้อ
2) กักตัวรักษาตัวที่บ้าน (Home Isolution)
สำหรับคนที่ตรวจแล้วว่ามีเชื้อไวรัสในร่างกาย และมีความพร้อมของบ้าน(พักอาศัย 1-2 คน) แต่รัฐต้องคอยจัดส่งเครื่องมือต่างๆ ไปให้อย่างครบถ้วน ปรอทวัดไข้ และเครื่องวัดค่าออกซิเจนปลายนิ้ว รวมทั้งยารักษาตามอาการ ยาต้านการแพร่เชื้อในร่างกายต่างๆ จะมีแพทย์ พยาบาลติดตามอาการผ่านการสื่อสาร เช่น วิดีโอคอล เทเลเมดิซีน วันละ 2 ครั้ง มีการเตรียมระบบส่งต่อไปยังสถานพยาบาลหากอาการรุนแรงขึ้นและยังมีส่งอาหารให้ผู้ป่วย 3 มื้อ
ที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น ที่สำคัญจะต้องมีการตรวจว่าใครมีเชื้อแล้วในร่างกาย จึงแยกตัวเข้าระบการรักษาพยาบาลดังกล่าว ไม่ใช่มั่วสีแดง ส้ม เหลือง เขียวเป็นพื้นที่จังหวัด สั่งปิดกิจการทาสในจังหวัดของผู้ว่าราชการจังหวัด แต่ไม่กล้าปิดกิจการเจ้าสัว เเราจะยังคงฝากความหวังไว้กับพวกเขาอีกหรือ หวังอะไรได้ครับผม ไอ้ที่หวังได้นะหราครับ ฟังคำพูดติดตลกของประชาชนหลายๆ คน คือ “ระบบราชการก็ไม่ได้ช้าไปซะทั้งหมด อย่างน้อยก็ทำป้ายไวนีลและซุ้มเฉลิมพระเกียรติไวมากๆ ครับ”
xxxxxxxxxxxx