วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

จากงานเขียนของ Acemoglu  และ Robinson ในหนังสือชื่อ Why Nation Fail ยืนยันว่าประเทศที่ใช้นโยบายขูดรีดและกีดกั้น ที่สร้างความได้เปรียบให้กับกลุ่มผู้ครองอำนาจและกีดกันประชาชนจากการมีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมือง

จากวรรณกรรมอันพิเศษดังกล่าวข้างต้น ทำให้มองเห็นอนาคตของความปลอดภัยจากภัยพิบัติของประชาชนจากการให้บริการของภาครัฐของไทย ที่ไทยนั้น ผลประโยชน์ของผู้ครองอำนาจกับผลประโยชน์ของประชาชนแม้จะไปทางเดียวกันแต่ผลลัพธ์ที่มุ่งหวังจะไม่เหมือนกัน

1.เวลา  ผู้ครองอำนาจจะนิยมภาพลักษณ์ในช่วงสั้นๆ รวดเร็ว ทำให้เป็นเพียงการกระทำที่ฉาบฉวย

2.ลักษณะกิจกรรมที่ทำจะเป็นการตอบสนองความพึงพอใจของประชาชนจากการให้ความช่วยเหลือในขณะเกิดภัย และหลังเกิดภัย  การดำเนินการก่อนเกิดภัยที่เป็นเพียงการโฆษณาชวนเชื่อบนทัศนคติที่มองประชาชน “โง่  จน  เห็นแก่ได้  https://thestandard.co/best-vaccine-from-government-and-people-perspective/

3.มุ่งมั่นที่จะรับใช้ผู้ครองอำนาจ ให้มีภาพลักษณ์และความชอบธรรมในการมีอำนาจปกครอง  ดังจะเห็นได้อย่างชัดเจนในช่วงปี 2563-2564 ที่ราชการได้พยายามปกปิด ส่งเสริมการแสวงหาผลประโยชน์ของผู้ครองอำนาจ  จากทั้งความต้องการหน้ากากอนามัย  เจลล้างมือ   และวัคซีนป้องกันโรคของประชาชน  https://www.bbc.com/thai/thailand-57745072 https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_2816010”  https://www.naewna.com/entertain/589897

จากข้อเท็จจริงที่กล่าวมา เป็นการดำเนินการที่เราจะมองเห็นได้โดยตรง แต่ส่วนที่มองเห็นได้ยาก คือข้าราชการตัวพ่อตัวแม่และเหล่าบริวารผู้ร่วมขบวนการได้ทำให้การขับเคลื่อนประเทศให้พัฒนาในภาพรวมให้ล้าหลังลงไปเรื่อยๆ  จากการที่ดึงการลงทุนของประเทศให้มาจมอยู่กับการขยายอาณาจักรของหน่วยงานด้านสาธารณภัยต่างๆของรัฐ  ทำให้ชาติขาดการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ ส่งผลให้อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ตำ่ลงเรื่อยๆ

เรียกว่า นอกจากจะเจอความโหดร้ายจากธรรมชาติแล้ว  ยังต้องเจอการไร้ความปราณีจากภาครัฐปรสิต

xxxxxxxxxxx