วันนี้ได้อ่านบทความของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ทำให้ทราบว่าในอดีตช่วงทศวรรษ 1970 – 1980 ชุมชนท้องถิ่นมีการต่อต้านขัดขืนกับอำนาจรัฐไทยตลอดเวลา ทำให้รัฐไม่สามารถครอบงำท้องถิ่นได้อย่างเบ็ดเสร็จ โดยเฉพาะชาวนาในชนบทได้ต่อสู้ขัดแย้งกับผู้ปกครองแบบรัฐไทยที่สร้างความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม https://www.sac.or.th/main/th/article/detail/238?
เมื่อมองสังคมไทยในปี 2021 ในด้านสาธารณภัย กลับไม่เห็นวี่แววใดๆ ว่าชุมชนท้องถิ่นมีการต่อต้านขัดขืนกับอำนาจรัฐ พบเพียงเฉพาะการเข้ามาโกหกบิดเบือนข้อมูลเพื่อร่วมกับภาครัฐโกงชาติโกงแผ่นดิน
ชาวชุมชนท้องถิ่นที่เป็นผู้กระทำการทางสังคม (social actors) กลับพลิกผันมากระทำการด้อยค่าตัวเอง ไปให้คุณค่าหรือมีค่านิยมบางอย่างที่ไม่เป็นปกติ ถดถอยการพัฒนาความคิด ขับเคลื่อนตัวเองหรือปรับตัวไปตามระบบเศรษฐกิจทุนนิยมและวัฒนธรรมบริโภคโดยไม่สมดุลกับรากฐานเดิมๆ และให้ความเอื้ออาทรกับสิ่งแวดล้อมร่วมพื้นที่กายภาพเดียวกัน
สภาวะความไม่แน่นอน รอยแยก และความขัดกันของอุดมการณ์และความรู้แบบต่างๆ ที่ตนรับรู้ประมวลจากวิถึชีวิต กลับไม่สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดขึ้นกับตน ในการที่จะแข็งขืนขัดแย้งกับรัฐราชการรวมศูนย์ด้านสาธารณภัย กลับตกอยู่ภายใต้การบงการหรืออิทธิพลของอำนาจรัฐ โดยมีสิ่งบ่งชี้ให้เห็น ได้ชัดเจน ดังนี้
1.เราปล่อยให้ภาครัฐสร้างอนุสาวรีย์ร้างขึ้นในพื้นที่ตนเองเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เอาภาษีมาสร้างพิพิธภัณฑ์เครื่องจักรเครื่องมือกลในพื้นที่ของเรา หรือสร้างปฏิมากรรมที่ไร้ประโยชน์ที่อ้างว่าจำเป็นต้องมีขึ้นมาเพื่อป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยผุดขึ้นมาเรื่อยๆ โดยที่เราแทบจะไม่ได้ใช้ประโยชน์อันใดเลยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ (ภาครัฐก็มีวิธีลดจำนวนได้หลายวิธี เช่นขายให้ อปท. ทุบ รื้อ สร้างสิ่งใหม่ทับถมแทนที่)
2.พวกเราจะสัมผัสกับความเชี่ยวชาญเอาใจใส่การเยียวยาชดเชยจากเจ้าหน้าที่ภาครัฐจะเพิ่มมากขึ้นมากขึ้น
3. กิจกรรมเวิลด์คาเฟ่ของภาครัฐจะอู้ฟู่ ผู้คนจะถูกกวาดต้อนเข้าร่วมมากขึ้น แต่จะไม่โอเพ่นสเปซนะจ๊ะ “ต้องสงบจบที่ระบอบประยุทธ์นะจ๊ะ”
4. สร้างหน่วยงานสร้างแผนกใหม่ๆ ขึ้นมาเรื่อยๆ เอาลูกเอาหลานเอาวงศ์วาน หว่านเชื้อในหลายๆ ที่ เข้ามาสืบต่อสันดานพ่อขุน มีอาณาจักรไว้ดูดภาษี
ฯลฯ (พอละนะ เหนื่อยหน่ายกับการเล่าความ…ของภาครัฐภายใต้หน้าฉากการสร้างพื้นที่ความเป็นมิตร)
xxxxxxxxxxxxxxxxx