วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ต้องพัฒนาความเป็นธรรมถึงจะอยู่รอดปลอดภัย

ทัศนคติพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ คือ มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกันไม่ว่าจะมีความแตกต่างกันอย่างไร ทั้งตามคุณลักษณะทางกายภาพและทั้งคุณลักษณะทางจิตใจ  แต่ในความเท่าเทียมกันนั้น เพื่อพัฒนาสังคมให้มีองค์ประกอบในการวิวัฒนาการต่อไปหรืออาจร้ายแรงจน(ฆ่ากันตาย) สูญพันธ์กันเพียงไม่กี่รุ่นต่อไปนั้น  มนุษย์จำต้องพัฒนาความเป็นธรรมให้มีขึ้นในสังคม

การผลิตซ้ำโดยขาดบทเรียน

ยกตัวอย่าง ที่คนไทยให้ความสนใจในขณะนี้ (สิงหาคม 2564) พ.ต.อ.นิธิสรรค์  ผกก.สภ.เมืองนครสวรรค์ ตำรวจที่เจริญก้าวหน้าเติบโตในตำแหน่งแบบก้าวกระโดด (แต่ไม่รู้ประชาชนได้ประโยชน์มากน้อยเพียงใด เพราะเมื่อมีข่าวดังขึ้นก็ทราบข้อเท็จจริงเพิ่ขึ้นว่าเขาหาเงินโดยใช้กฎหมายไถเงิน รวมทั้งหลบช่องโหว่ของกฎหมายหาเงินครั้งละเป็นล้านๆ บาท)  ได้ใช้กฎหมายเป็นข้ออ้างในการจับกุมตัวเขามาในสถานที่ราชการ  แล้วกลายร่างเป็นโจรในสถานที่ราชการแสดงพฤติกรรมไถเงินผู้ต้องหาด้วยการถุงพลาสติกคลุมหัวและปิดปากถุงให้ขาดอากาศหายใจ พร้อมกับซ้อมทุบตีทำร้ายส่วนอื่นๆของร่างกายให้เจ็บปวด จนยอมให้ 1 ล้านบาท แต่ไม่เป็นที่พอใจอยากได้เพิ่ม เป็น 2 ล้านบาท  เมื่อไม่ยอมจ่ายก็มีพฤติกรรมทรมานให้ยอมจ่าย  จนผู้ต้องหารับการทรมานไม่ไหวสิ้นใจตาย  การสร้างความไม่เป็นธรรมจากทัศนคติที่ไม่เคยเห็นความเท่าเทียมเป็นสภาพที่ถูกผลิตซ้ำแล้วซ้ำเล่าในสังคมไทย

ความชัดเจนที่ต้องนำไปพัฒนา

ในกรณีดังกล่าว ความเท่าเทียม คือ ทุกคนจะต้องไม่ถูกกระทำลักษณะนั้นไม่ว่าจะมีเงื่อนไขไม่มีข้อแม้ใดๆ ข้อยกเว้นใดๆ   ความเป็นธรรม คือ ภาวะทางสังคมที่มีกระบวนการทางสังคมที่สามารถไม่ให้มีพฤติกรรมชั่วเลวทราม/ควบคุม/ตรวจสอบไม่ให้ทุกๆ คนไม่เจอกับสถานการณ์อันทุกข์ทรมานดังเช่นผู้ต้องหาดังกล่าวข้างต้น

ร่วมด้วยช่วยกันสร้างสังคมนิรภัย

สำหรับในด้านภัยพิบัติ (เมื่อต้องไปเจอพวกปรสิต ต้องเรียกสาธารณภัยนะคับ (ไม่เห็นตังค์ธนาธรงานไม่เดินเด้คับ ภัยพิบัติไม่มีตังค์ธนาธรนะจ๊ะ)) ความเท่าเทียม มีอยู่ 2 ด้าน คือ

ด้านแรก ด้านกายภาพคุณลักษณะทั้งเชิงนามธรรม และรูปธรรมจะต้องไม่สูญเสียได้รับผลกระทบให้เสียหายจากภัยพิบัติ หรือได้รับการข่วยเหลือเยียวยาอย่างทั่วถึง  ด้วยมาตรฐานและคุณภาพเทียบเท่ากัน

ด้านที่สอง ด้านจิตใจ ทุคนต้องไม่ต้องถูกกระทำต่อจิตใจให้ทนทุกข์ทรมาน

ส่วนความเป็นธรรม มี 2 ด้าน เช่นกัน คือ

1.การเลือกปฏิบัติเชิงบวก ทุกคนต้องช่วยกันสร้างวัฒนธรรมที่ลดความเสี่ยงภัยพิบัติ

2.การเลือกปฏิบติเชิงลบ ไม่ใช่ต้องได้รับการช่วยเหลือทั้งปีทั้งชาติ หรือตลอดเวลา ตลอดเงื่อนไข

xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx