วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ไทยใช้จ่ายงบประมาณนับหลายหมื่นล้านบาท (ข้อมูลจากระบบประเมินผลแห่งชาติ : EMENSCR ของสภาพัฒน์) เฉพาะของหน่วยงานส่วนกลางด้านป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ก็ประมาณปีละ 6,000 – 7,000 ล้านบาท (จากงบกระทรวงปีละสามแสนกว่าล้านบาทต่อปี) แต่ก็ไม่พร้อมดูแลสังคมไทยให้เป็นสังคมนิรภัยได้

ทำไมถึงไม่ได้ ในเมื่อเงินก็ถลุงกันเต็มที่

1.ขาดวิสัยทัศน์ในการแก้ปัญหา แม้จะมีหน่วยงานรับผิดชอบอย่างเป็นระบบโดยตรง แต่การเเก้ไขปัญหายังขาดวิสัยทัศน์ร่วม (แต่รวมกันเอาหน้าเฉพาะกิจ เด่นล้ำมากครับนาย) การแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนดำเนินการแบบต่างคนต่างคิดต่างคนต่างทำ (ไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบมองภาพรวมแบบเป็นระบบ /พื้นที่ส่วนใหญ่ยังไร้แนวทางขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบ)

2. ระบบจัดการทรัพยากรในการบริหารจัดการกระจุกตัวที่ส่วนกลาง

วิถึใหม่ไร้ปรสิต(ข้าราชการฉ้อฉล)

1. สร้างระบบใหม่ที่สามารถควบคุมการจัดการทรัพยากรของปรสิต(ข้าราชการฉ้อฉล) มาทดแทนระบบเดิมๆ ที่ปรสิตเจริญเติบโต (กอบโกย) อย่างไร้ขึดจำกัด

2. รู้เท่าทันการโฆษณาชวนเชื่อของเหล่าปรสิต(ข้าราชการฉ้อฉล) ที่ลับลวงพรางความอำมหิตของตนเองได้อย่างแนบเนียน

 

ตารางความสัมพันธ์กันทางสถิติ

วิถีใหม่

ขาดวิสัยทัศน์ในการแก้ปัญหา

การกระจุกตัวของทรัพยากร

ต้องสร้างระบบใหม่

12%

24%

ต้องรู้เท่าทันการโฆษณาชวนเชื่อ

25%

17%

 

อภิปรายความสัมพันธ์กันทางสถิติ

1.  การขาดวิสัยทัศน์ในการแก้ไขปัญหาของปรสิต(ข้าราชการฉ้อฉล) พวกเราต้องมีการนำข้อเท็จจริงทางนิเวศ (ความเป็นไปรอบๆ ตัวที่ปรากฏอย่างสมำ่เสมอ) ไปโต้แย้ง/วิพากษ์กับช่องทางการทำมาหากินของปรสิต เฮ้..ปรสิตคุณทำอย่างนั้นลูกหลานในวันข้างหน้าจะลำบากขาดความปลอภัย

2. การกระจุกตัวของทรัพยากรที่ปรสิต(ข้าราชการฉ้อฉล)ชี้โบ้ชี้เบ้ตามอำเภอใจ ต้องผลักดันให้เกิดระบบใหม่ที่สามารถทำให้การเจริญเติบโตของปรสิตหยุดชะงัก

———-xxxxxxxxx————