กระบวนการทำงานเชิงรุกรับภัยพิบัติ มีกระบวนการที่สำคัญ ดังนี้
1.ต้องเข้าใจสถานการณ์ที่จะส่งผลกระทบตลอดเวลา ดังนั้น จะต้องมีกระบวนการทำงานที่จะทำให้เข้าใจสถานการณ์
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3 กระบวนการคือ
1.1 การสร้างเครื่อข่าย การรับรู้ข้อมูล
1.2 การวิเคราะห์ ประเมินข้อมูล
1.3 การเสนอรูปแบบของประเภทหรือลักษณะของผลกระทบ ที่สามารถระบุ/มีรายละเอียดพื้นที่ ช่วงเวลา กลุ่มคน กลุ่มสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น และกลุ่มที่เป็นธรรมชาติอันเกื้อกูลต่อการดำรงชีพของมนุษย์
2.การควบคุมปัจจัยเสี่ยง โดยแยกเป็น 2 ประเภท คือ
2.1 การควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายในปัจจุบันทันด่วน
2.2 การควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่ค่อย ๆ สร้างผลกระทบ
2.2.1 ภายใน 24 ชม.
2.2.2 ภายใน 48 ชม.
2.2.3 มากกว่า 48 ชม.
3.ดำเนินการกำจัดหรือทำให้เกิดความสมดุลของช่วงชั้นความเสี่ยงให้เหลือความห่างน้อยที่สุด
ในสถานการณ์ความเสี่ยงใดๆ ของบุคคล องค์กร สถาบัน หรือสังคมก็ตาม จะมีลักษณะความเสี่ยงเกิดขึ้นใน 2 ลักษณะ คือ ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในชีวิต (Health risk) กับความเสี่ยงด้านสังคม (Social risk) จะต้องปรับให้ความเสี่ยงในสองลักษณะมีความห่างกันน้อยที่สุด
กระบวนการทำงานเชิงรุกรับภัยพิบัติทั้ง 3 กระบวนการ จะต้องจับให้เป็นวงจรการทำงานทีละรูปแบบของประเภทหรือลักษณะผลกระทบ
—————————————-666666————————————