เราจะเห็นการประชาสัมพันธ์ของศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ว่ามีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่และในช่วงเทศกาลสงกรานต์
มูลค่าความเสียหายที่ประชาสัมพันธ์กัน กรณีผู้เสียชีวิต มูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจ 1 คน มีมูลค่าความเสียหาย 4 ล้านบาท และกรณีเป็นผู้บาดเจ็บไม่ว่าต่อไปจะนอนรักษาตัวหรือต้องนอนรักษาตัว จะมีมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจ คนละ 5.9 หมื่นบาท
ตัวเลขที่กล่าวมาข้างต้น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการวิจัยเมื่อปี พ.ศ.2548 โดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้
แต่สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) (2560) ได้คำนวณมูลค่าความสูญเสียจากการเสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัสจากอุบัติเหตุจราจรจากพื้นที่ในจังหวัดสระบุรี ด้วยวิธีการประเมินความเต็มใจที่จะจ่ายในการลดอุบัติเหตุทางถนนของคนในพื้นที่ พบว่า การเสียชีวิตมีมูลค่าเท่ากับประมาณ 10 ล้านบาทต่อราย ในขณะที่การบาดเจ็บสาหัสมีมูลค่าเท่ากับประมาณ 3 ล้านบาทต่อราย โดยสรุปแล้ว ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการเกิดอุบัติเหตุทางถนนจำนวนมาก ทำให้เกิดความสูญเสียที่คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจราว 5 แสนล้านบาทต่อปี
อย่างไรก็ตาม มูลค่าเสียหายจากอุบัติเหตุ สามารถแยกได้ ดังนี้
1. ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล
งานศึกษา ศึกษาต้นทุนผู้ป่วยอุบัติเหตุบนถนนในโรงพยาบาลทั่วไปเฉพาะในกรุงเทพมหานคร แบ่งต้นทุนตามองค์ประกอบต้นทุนคือ ต้นทุนผู้รับบริการ ได้แก่ ต้นทุนทางตรง ต้นทุนทางอ้อม และต้นทุนผู้ให้บริการ ได้แก่ ต้นทุนด าเนินการ ต้นทุนค่าแรง จากการศึกษา
2. ความสูญเสียด้านทรัพย์สิน
โดยจำแนกความเสียหายเป็นของยานพาหนะที่ประสบอุบัติเหตุและของทรัพย์สิน หรือแยกความสูญเสียด้านทรัพย์สินที่เสียหายออกเป็นความเสียหายที่เกี่ยวข้องกับยานพ าหนะและความเสียหายที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินอื่น (ทรัพย์สินทางราชการ)
3. ความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการขาดงาน
ศึกษาเฉพาะผู้ที่ประสบอุบัติเหตุเท่านั้น ไม่ได้ครอบคลุมไปถึงญาติพี่น้องที่ดูแลผู้ป่วยหากวิเคราะห์ความสูญเสียรายได้ทั้งในแง่ของผู้บาดเจ็บและญาติพี่น้องที่ดูแลผู้ป่วย ในการประเมินความสูญเสียจากการขาดงานในกรณีการเสียชีวิต จากการศึกษาที่ผ่านมามีวิธีการประเมินรายได้ในอนาคตแตกต่างกันไป คำานวณ Foregone Income ซึ่งต้องอาศัยโครงสร้างรายได้ปัจจุบันเพื่อประเมินหารายได้อนาคตที่สูญเสียไป จากฟังก์ชันค่าจ้างซึ่งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างค่าจ้างและอายุ โดยอาศัยข้อมูลการสำารวจภาวะการทำางานของประชากรจากส ำนักงานสถิติแห่งชาติ ส่วนในกรณีของผู้บาดเจ็บและผู้ดูแล ผู้บาดเจ็บ งานวิจัยส่วนใหญ่ประเมินการสูญเสียรายได้ในช่วงวันที่รักษาพยาบาลของผู้บาดเจ็บ