การขับเคลื่อนพลังทางสังคมในการจัดการภัยพิบัติในปัจจุบัน ดำเนินไปด้วยกรอบโครงสร้างที่กลวงๆ ไร้การปฏิบัติที่มีผลเป็นรูปธรรมที่จะเกิดความปลอดภัยแก่ตนเองและสังคม ไร้การประเมินผลควบคุมการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ สาเหตุดังกล่าว เนื่องมาจาก
1.การขาดข้อมูลที่ชัดเจน
แม้ภาครัฐจะประกาศตนเองว่าเข้าสู่ยุค 0.4 แล้ว แต่ข้อมูลที่รวบรวมก็ยังเพื่อตัดสินใจในเรื่องอดีตที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นภัยพิบัติที่เกิดจากธรรมชาติหรือเกิดจากการกระทำของมนุษย์ ไร้ศักยภาพที่จะรวบรวมข้อมูลเพื่อที่จะเป็นทางเลือกในอนาคต จึงหวังได้เพียงลดผลกระทบหรือลดความรุนแรงลงบ้างเท่านั้น การก้าวสู่ภูมิทัศน์ภัยพิบัตินั้นยังอีกยาวไกล
2.ขาดการผลิตนโยบายที่สมเหตุสมผลของภาครัฐ
ส่งผลให้ภัยพิบัติไม่ได้เข้าสู่ความสนใจของสังคมได้ในระยะยาวและต่อเนื่อง ทำให้เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์ในการดำเนินการไม่ได้ถูกตรวจสอบจากสังคม ทำให้ไม่มีการปรับเปลี่ยนปรับปรุงนโยบายให้ขับเคลื่อนไปโดยมีผลลัพธ์มี่มีประสิทธิผล
3.บูรณาการขับเคลื่อนแบบร้อยมือร้อยใจ
เอาเรื่องเล็กเรื่องน้อยของแต่ละหน่วยงานองค์กร มาเป็นข้ออ้างว่าขับเคลื่อนเพื่อบรรลุเป้าหมาย ซึ่งการทำทั้งหมดเป็นร้อยเป็นพันหน่วยงานไม่ได้นำสู่ทิศทางเดียวกันเลย
————————///////// ————————–