วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ศูนย์พักพิงชั่วคราว หมายถึง อาคารหรือสิ่งก่อสร้างที่มีอยู่เดิมที่ถูกนำมาใช้เป็นที่พักอาศัยชั่วคราวสำหรับชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความขัดแย้งหรือภัยพิบัติทางธรรมชาติ

ในที่นี้จะกล่าวถึงการจัดการศูนย์พักพิงที่เป็นแนวทางปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เนื่องจากศูนย์พักพิงตามมาตรฐานที่เป็นมาตรฐานของภาครัฐส่วนกลาง  ส่วนใหญ่มีปัญหาในการจัดตั้งขึ้น หากไม่เป็นสาธารณภัยขนาดใหญ่หรือขนาดร้ายแรงยิ่น

หลักในการจัดตั้ง

  1. Need
  2. Expectation

เครื่องมือในการบริหารจัดการศูนย์พักพิง

1.ค่าใช้จ่าย

_บริหารจัดสรรงบประมาณของ อปท.ตามระเบียบข้อกฎหมาย

_ขอรับการสนับสนุนจากภาครัฐส่วนอื่นหรือภาคเอกชนธุรกิจ

2.การบำรุงความจำเป็น

ด้วยการจัดตั้งคณะทำงานศูนย์พักพิงตามแผนผังภาพ ดังนี้

 

 

3.สำรวจความคิดเห็น และปรับปรุงให้ตรงความต้องการ

_แบบสำรวจทั้งแบบปลายปิดและปลายเปิด ครอบคลุมทั้งปัจจัยทางกายภาพ  ปัจจัยทางจิต  และปัจจัยทางปัญญา (การฝ่าฝันปัญหา การมีวิถีชีวิตในอนาคต)

_การสานเสวนา

_มุ่งใช้ทรัพยากรหรือแรงงานภายในศูนย์ฯ เป็นลำดับแรก

_ใช้กำลังและทรัพยากรของจิตอาสาในพื้นที่

_ขอสนับสนุนจากมูลนิธิอาสาสมัคร

4. สร้างแนวทางในอนาคตร่วมกัน  การประสบภัยพิบัติจะทำให้คนในสังคมนั้นมีแรงกระตุ้นมุ่งสู่การเปลี่ยนแปลง  ทั้งนี้ หลักในการสร้างคือมองหาศักยภาพในการควบคุมสถานการณ์ในอนาคต ซึ่งไม่ควรละเลยในขั้นตอนนี้

_BAN (Balance, Ability, Networks) ปรับความสมดุลในสิ่งจำเป็นต่างๆ  ให้ระบบใหม่มีพลวัตนำสู่ความยั่งยืน

_PAR (Participatory Action Research)

_Resocialization (การขัดเกลาทางสังคมครั้งใหม่)  มองหาคุณค่าของภัยพิบัติที่ผ่านมา เพื่อนำมาปรับวิถีชีวิตวิธีคิดใหม่ สร้างเกณฑ์การปฏิบัติสร้างตัวชี้วัดป้องกันความเสียหาย

การจัดการศูนย์พักพิงชั่วคราว  มีหลักการที่ควรพึงคำนึงถึง คือ

๑. กฏหมายและมาตรฐานการให้ความช่วยเหลือ

๒. แนวทางการให้ความช่วยเหลือ

๓. การมีส่วนร่วมของผู้พักพิง

๔. การใ้ห้ความคุ้มครอง

—————–//////////////—————–