“perverse incentive” หรือแรงจูงใจที่ก่อให้เกิดผลกลับทาง ตั้งใจอย่างหนึ่งโดยให้แรงจูงใจและการกระทำอย่างดีที่สุด แต่ปรากฏว่าผลมันเป็นไปในทางตรงข้าม ซึ่งแนวคิดดังกล่าวมาจากนักเศรษฐศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ Horst Siebert แห่ง University of Kiel และตั้งชื่อปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นว่า cobra effect หรือ (CE) หรือ “ปรากฏการณ์งูเห่า”
เมื่อนำแนวคิดดังกล่าวมาใช้ศึกษาภัยพิบัติ ก็จะพบปรากฏการณ์หลายๆ ประเด็น ดังนี้
- moral hazard (อันตรายมันเกิดจากศีลธรรม) ดังเช่น
- จากการประเมินผลมาตรการคาดเข็มขัดนิรภัย พบว่า ผู้ขับขี่มีความรู้สึกมั่นใจในความปลอดภัยมากขึ้น จนขับรถอย่างสุ่มเสี่ยงมากขึ้น
- จากการประเมินผลโครงการประกันภัยรถยนต์/ยานพาหนะ พบว่าคนขับขี่รถที่มีประกันเต็มที่จะมีพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงมากกว่าคนขับขี่ที่มีประกันน้อย
- การขยายพื้นที่หรือสถานการณ์หายนะ ดังเช่น
2.1อัฟกานิสถาน ในปี 2002 อังกฤษจึงออกมาตรการจูงใจโดยเสนอให้เงิน 700 เหรียญสหรัฐต่อเอเคอร์ของแปลงฝิ่นที่ถูกทำลาย ผลปรากฏว่าชาวบ้านพากันขยายพื้นที่เพาะปลูกฝิ่นเป็นการใหญ่เพื่อให้มีพื้นที่ในการทำลายฝิ่นมากขึ้น
2.2ในปี 2562 รัฐราชการปรสิตของไทยได้ออกระเบียบการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ทำให้มีประชาชนอาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยพิบัติมากขึ้น