งบประมาณปีละหลายพันล้านบาทในการบูรณาการต่อสู้กับการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนอย่างจริงจังในช่วงเทศกาลวันหยุดยาวต่างๆ แต่ประเมินได้ว่ายังไม่มีประสิทธิผล เนื่องจากขาดการแก้ไขและจัดการความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน แม้หน่วยงานที่ดำเนินการจะประเมินการตรวจรถได้วันละ 2-3 แสนคัน จับคนเมาได้วันละ 50-60 คน ใช้คนจำนวน 3 – 4 พันคน ในการปฏิบัติงานนั่งมองรถผ่านไปผ่านมา เฝ้ารอการแวะเข้าใช้บริการของคนเดินทาง เรียกว่าคุ้มค่ากับการลงทุน เรียกงบประมาณมาหล่อเลี้ยงการปฏิบัติงานปีต่อๆ ไป เพิ่มขึ้นปีละ 30-40 ล้านบาท
ทั้งนี้ แนวทางการประเมินและจัดการความเสี่ยง จำแนกได้เป็น 4 ระดับ คือ
1. ความเสี่ยงระดับนโยบาย แม้นโยบายจะมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มความปลอดภัยทางถนน ลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุ และลดความรุนแรงของอุบัติเหตุเมื่อเกิดขึ้น แต่การบรรลุเป้าหมายจะต้องฝ่าฟันกับอุปสรรค ดังนี้
1.1 การบังคับใช้กฎจราจร : ความเสี่ยงคือเป็นไปเพื่อชี้ความผิด/ความถูกต้องของสภาวการณ์ปกติ ไม่ได้ใช้เพื่อตรวจจับสถานการณ์ที่ผิดปกติ (ตั้งด่านตรวจจับ ไม่ได้ตั้งชุดคอยเฝ้าระวังพฤติการณ์บนท้องถนนที่แสดงผิดปกติ ปัจจุบันก็ใช้เงินหลายพันล้านบาทติดตั้งกล้องจับภาพ แต่ไม่ทราบว่ามีประสิทธิผลเป็นอย่างไร) ไม่ได้ปฏิบัติงานเพื่อกีดกันพฤติกรรมที่ประมาท
1.2 การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล : ความเสี่ยงคือเป็นไปเพื่อบิดเบือน ให้สามารถสร้างความชอบธรรมในการคงอยู่ของหน่วยงาน/องค์กร สร้างฐานข้อมูลขยะเพื่อต้องการงบประมาณการบริหารจัดการบ่อขยะข้อมูล แทนที่จะเน้นการนำฐานข้อมูลมาใช้ประโยชน์
1.3 การวางผังเมืองอย่างยั่งยืน : ความเสี่ยงคือ ไม่ได้ให้ความสำคัญกับโครงข่ายถนนที่เป็นมิตรต่อคนเดินเท้า การขนส่งสาธารณะ และรูปแบบการเดินทางที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ช่วยให้ถนนปลอดภัยขึ้นและลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุ
2.ความเสี่ยงระดับผลกระทบ
2.1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน : ความเสี่ยงคือรัฐถือเป็นนโยบายสำคัญเพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ไม่ได้คำนึงถึงมิติความปลอดภัย ถนนหลายสายก่อให้เกิดผลกระทบทางลบต่อพื้นที่รอบๆ ถนน
2.2 การตอบสนองเหตุฉุกเฉินและการดูแลทางการแพทย์: ความเสี่ยงอยู่ในระดับตำ่กว่าประเด็นอื่นๆ กล่าวคือรัฐราชการปรสิต ได้จัดวางระบบการลดความรุนแรงของการบาดเจ็บและเสียชีวิต การเข้าถึงความช่วยเหลือทางการแพทย์อย่างรวดเร็ว และระบบตอบสนองฉุกเฉินที่มีประสิทธิภาพสามารถช่วยชีวิตได้ระดับดี จะขาดก็แต่การพัฒนาความสามารถ/ความร่วมมือของผู้ประสบเหตุ/ผู้อยู่ในเหตุการณ์ยังไม่ดี ยังมีความเสี่ยง
3.ความเสี่ยงระดับผลลัพธ์
3.1 ความตระหนักของประชาชนและการศึกษา : ความเสี่ยงคือ ไม่ได้มุ่งเน้นให้ผู้ใช้รถใช้ถนนมองเห็นโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุ ไปมุ่งเน้นให้ท่องจำความสำคัญของการปฏิบัติตามกฎจราจร (3ม 2ข 1ร บ้าง คำขวัญแปลกๆ บ้าง) รวมทั้งการได้รับใบอนุญาตขับขี่ ก็ขาดการทดสอบการขับขี่เชิงป้องกัน
3.2 กรอบกฎหมายและความรับผิดชอบ : ความเสี่ยงคือ แม้จะมีกรอบกฎหมายที่ชัดเจนและกลไกความรับผิดชอบต่ออุบัติเหตุทางถนนที่ชัดเจนพอสมควร แต่นั่นก็ไม่สามารถรับประกันกระบวนการทางกฎหมายที่ยุติธรรมและทันท่วงทีได้สำหรับประเทศไทยหัวใจกาขาว สำหรับกรณีอุบัติเหตุจะ
๔.ความเสี่ยงระดับแผนงานและกิจกรรม
4.1 การทำงานร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย : ความเสี่ยงคือ ประสิทธิภาพความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐอยู่ในระดับต่ำ ทั้งการบังคับใช้กฎหมาย ช่องทางการให้บริการด้านการขับขี่อย่างปลอดภัย/ใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ อันจะสามารถนำไปสู่กลยุทธ์การป้องกันอุบัติเหตุที่ครอบคลุมมากขึ้น และส่งเสริมการขับขี่อย่างมีความรับผิดชอบ
4.2 การวิจัยและนวัตกรรม : ความเสี่ยงคือ เป็นไปเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับแผนงาน/กิจกรรมของรัฐราชการปรสิต งานวิจัยหรือนวัตกรรมที่จะนำไปสู่การพัฒนาระบบขั้นสูงสำหรับการทำนาย หรือการป้องกัน หรือการจัดการอุบัติเหตุอย่างมีประสิทธิภาพมีน้อยมาก
ข้อเสนอแนะ
ประชาชนพึงตระหนักว่ารัฐราชการปรสิตได้ใช้งบประมาณจากเงินภาษีไปถลุงทำกิจกรรม/แผนงงานสวยหรูบนพื้นฐานความเสี่ยงที่ก่อผลกระทบทางลบต่อเจ้าของเงินภาษี