วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ราชการของเมืองไทยป่วยเป็นโรคหลงตัวเองมาตั้งแต่สมัย ร.8 ปภ.จำกัดก็ยิ่งแย่หนักด้วยเหตุผล 2 ประการ ดังนี้

1.แรงความต้องการกลบเกลื่อนหลอกลวงของอำนาจนิยม

2.ละเลิงตนในภาวะจำยอมของประชาชน

โรคหลงตัวเองของพรรคราชการของไทย ด้วยหลักการบริหารประเทศที่ดีนั้น ต้องดึงพลังออกมาจากพื้นที่ต่างในประเทศ แต่พรรคราชการกลับรวบอำนาจกดทับละเลยผู้มีส่วนร่วม พลังที่สำคัญในการบริหารประเทศ 3 พลัง ได้แก่

1.พลังปัญญา (ความรู้ คุณธรรม)

ผู้มีส่วนร่วมกันผนึกแรงสร้างพลังให้มีสัมฤทธิผล ได้แก่ มนุษย์ทุกคน ดึงออกมาจากความตระหนักของทุกคนต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต

2.พลังนโยบาย

ผู้มีส่วนร่วมกันผนึกแรงสร้างพลังให้มีสัมฤทธิผล ได้แก่ สาธารณะ การเมือง  ดึงออกมาจากการขยายพื้นที่การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

3.พลังสังคม

ผู้มีส่วนร่วมกันผนึกแรงสร้างพลังให้มัสัมฤทธิผล ได้แก่ เอกชน ชุมชน ราชการ ภาคีเครือข่าย ดึงออกมาด้วยการมีศักยภาพการทำงานที่เกื้อกูล พึ่งพากัน

ประเทศที่เจริญช้า มีความเหลื่อมล้ำสูง ราชการจะเป็นคนกำหนดนโยบายมาเพื่อรีดพลังสังคม เช่นเดียวกับ ปภ.จำกัด ได้ละเลยการขยายพื้นที่การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนออกมาเป็นนโยบายในการร่วมกันสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยของชาติ

1.มุบมิบออกพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธาณณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2550 เป็นการรวบอำนาจการบริหาร ซึ่งเป็นที่แน่ชัดว่าประเทศนี้จะไม่ปลอดภัยสมกับเม็ดภาษีที่เราจ่ายให้หน่วยงานนี้ดำเนินงาน  ประเทศนี้ราชการจะเป็นผู้กุมการออกนโยบายมาตีกลองร้องป่าว

2.มุบมิบออกหลักเกณฑ์การช่วยเหลือต่างๆ ที่ไม่ได้คอยรับฟังเสียงผู้ประสบสาธารณภัย

http://web.krisdika.go.th/pdfPage.jsp?type=act&actCode=13487 // http://www.rlpd.go.th/rlpdnew/images/rlpd_8/pmqa/form_award/participatory_government.pptx // http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER39/DRAWER097/GENERAL/DATA0000/00000081.PDF

——————xxxxxxxx——————–