วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

แนวคิดการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของหน่วยงานกลางของรัฐบาลประเทศไทย คือ “การพึ่งพิงอาณาจักรรัฐราชการปรสิต” โดยแนวคิดดังกล่าวได้ถูกเสนอเป็นเป้าหมายและได้เน้นย้ำโดยกฎหมายหลายๆ ฉบับ   แม้ชุดความคิดดังกล่าวได้ถูกท้าทายโดยสถานการณ์ภัยพิบัติขนาดใหญ่หลายต่อหลายเหตุการณ์ ตั้งแต่ก่อตั้งหน่วยงานกลางด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขึ้น

ความท้าทายดังกล่าวกลับไม่ได้สร้างความจริงชุดใหม่ขึ้นมาให้กับประชาชนคนไทยได้ตระหนักและมีวิสัยทัศน์ใหม่ แม้สังคมไทยกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วก็ตาม การพึ่งพิงอาณาจักรรัฐราชการปรสิตด้านภัยพิบัติของประชาชนคนไทยก็ยังคงสถาพรต่อไป  ดังมีลักษณะ ดังนี้

การดำเนินการก่อนเกิดภัย

แม้จะเป็นเรื่องสำคัญมากที่สุดในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  ซึ่งจะต้องรื้อแบบแผนการดำเนินชีวิตทางวัฒนธรรมทางสังคมและระบบเศรษฐกิจ ด้วยความรู้ความเข้าใจบนความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ และมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม  โดยการรื้อมีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายสำคัญคือการปลดปล่อยจากการกดขี่ของรัฐราชการและนายทุนผูกขาด

การกดขี่ของรัฐราชการ

1.มีอคติทำให้มองว่าชุมชนเปรียบเหมือนภาขนะว่าง (ไม่มีความรู้ ความคิด  เทคนิค  หรือกลไกทางสังคมใดๆ ที่จะจัดการปัญหา  ต้องให้นักบริหารภัยพิบัติที่เชี่ยวชาญพิเศษเข้ามาให้ความรู้ให้รู้จักหมายเลขด่วน 1784  ตั้งกรรมการไว้เป็นลูกไม้ลูกมือให้รัฐราชการได้สร้างความชอบธรรมในการสร้างอาณาจักร  ให้รู้จักเอาวิทยุทรานซิสเตอร์แนบหูไว้ฟังการโฆษณาจากรัฐราชการ ที่ทรราชย์ตู่ห้าวแนะนำปฏิบัติด้วยตนเองเป็นประจำเวลาบัญชาการปฏิบัติการทางทหาร)

2. มีความหน่อมแหน้มแบเบาะ ที่ปฏิบัติการแก้ปัญหาสาธารณภัย แต่ละประเภทดำรงอยู่อย่างแยกขาดไม่เกี่ยวข้องกับปัญหาเศรษฐกิจ  สังคม และการเมือง  การแก้ปัญหาจึงเป็นไปแบบตัดตอนมาแก้ปัญหาเป็นส่วนๆ

การกดขี่ของนายทุนผูกขาด

1.เอารัดเอาเปรียบทางการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า

2.กอบโกยพื้นที่ทั้งพื้นที่ทางสังคม  และพื้นที่ทางกายภาพ  ประชาชนคนส่วนใหญ่ไม่มีพื้นที่ของตนเอง  แม้หน่วยงานกลางของรัฐด้านภัยพิบัติ ก็ไม่มีพื้นที่ให้ประชาชน/ผู้ประสบภัยพิบัติ เป็นของนายทุนผูกขาด (ลองเริ่มสังเกตุจากเหตุการณ์ภัยพิบัติ  การระวังป้องกันแก้ไขปัญหาภัยพิบัติที่ส่งผลกระทบกับนายทุนผูกขาด จะได้รับการการทุ่มเททรัพยากรเป็นจำนวนมาก

การดำเนินการระหว่างเกิดภัย

มุ่งเน้นกิจกรรมที่สามารถผลิตซ้ำได้ ตีกรอบให้ประชาชนเข้าสู่ระบบอุปถัมภ์  โดยเฉพาะกิจกรรมที่ต้องใช้งบประมาณ

การดำเนินหลังการเกิดภัย  

1.วางเครือข่ายลูกไม้ลูกมือ  ทั้งคณะกรรมการ  ทั้งกลุ่มเครือข่ายต่างๆ

2.นำงบประมาณมาสร้างอนุสาวรีย์ต่างๆ  เพื่่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร

ข้อเสนอแนะต่อประชาชน

  1. สร้างพลังให้สามารถปฏิรูปหน่วยงานกลางของรัฐราชการด้านป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
  2. สร้างพลังเสนอให้มีการจัดสรรงบประมาณแบบฐานศูนย์