วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ผู้ประสบภัยซ้ำซากส่วนใหญ่จะมีคำถามในใจที่ไม่สามารถจะบอกกล่าวหรือสนทนาในหมู่คนในชุมชนเดียวกันได้ เพราะเกรงจะถูกมองว่าตนเป็นคนไม่ดีย์  คำถามนั้นวนซ้ำแล้วซ้ำเล่าทุก สองปีทุกสามปี  คำถามนั้น คือ

๑.การดำเนินการเข้ามาดูแลช่วยเหลือของทางราชการมีความเหมาะสม สอดคล้องกับสภาพหายนะที่ตนประสบอยู่ทุกสองปีสามปีก็ต้องทนทุกข์ยากลำบากกันซ้ำแล้วซ้ำเล่า เป็นไปได้หรือไม่ที่ การช่วยเหลือ นั้นจะเป็นการดำเนินการที่

๑.๑ เป็นการดำเนินการที่คลุมเครือ ทำอย่างเหวี่ยงแห ไม่ชัดเจนต่อความปลอดภัยอย่างยั่งยืน

๑.๒ เป็นการดำเนินการที่ไม่คุ้มค่า

๒.คนในพื้นที่อื่นที่นานนับหลายๆ ทศวรรษก็ไม่ประสบภัยพิบัติ เคยคิดบ้างไหมว่าต้นทุนทางตรงของการใช้จ่ายงบประมาณในการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์มันยังน้อยกว่าต้นทุนทางอ้อมที่เป็นการเสียโอกาสซึ่งเป็นมูลค่าที่อาจจะเกิดขึ้นถ้ารัฐนำเงินก้อนเดียวกัน (ที่ปรสิตในรัฐราชการนำมางาบ) ไปดำเนินการส่วนอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม

ข้อเสนอต่อประชาชนที่มีคำถามดังกล่าวข้างต้น

๑. พิจารณาดูว่าใครให้อภิสิทธ์แก่ปรสิตในรัฐราชการสามารถทำตามที่กล่าวมาตามข้อ ๑ และข้อ ๒  มีหน่วยงานหรือองค์กรที่มีบทบาทตรวจสอบหรือไม่

๒. พินิจพิจารณาว่าตามข้อ ๑ และข้อ ๒ จงตัดสินให้ได้ว่าการดำเนินการดังกล่าวเป็นการรับใช้รัฐราชการ   ไม่ใช่การรับใช้ผู้ประสบภัยพิบัติแต่อย่างใด  แล้วหาหนทางในการเปลี่ยนแปลงให้พวกปรสิตมารับใช้ให้จงได้

Search