วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ความแห้งแล้งจากสติปัญญาในที่นี้จะไม่กล่าวถึงประเด็นประสิทธิภาพการใช้น้ำ แต่จะกล่าวถึงการพัฒนาโครงการแหล่งน้ำ ซึ่งในช่วง 4-5 ปีมานี้ (2557-2563) เราจะสังเกตุเห็นการพัฒนาโครงการแหล่งน้ำที่หน่วยงานราชการใช้งบประมาณที่มาจากเงินภาษีของพวกเรานั้นแห้งขอด แทบจะไม่มีปริมาณน้ำกักเก็บไว้ให้เห็นเลย  ทั้งนี้ เนื่องมาจากสาเหตุ ดังนี้

1.มาตรฐานการออกแบบล้าหลัง  หน่วยงานราชการออกแบบโดยใช้ปัจจัยการออกแบบที่ล้าหลัง ไม่เท่าทันอัตราการซึมผ่านผิวดินที่ไม่เหมือนในอดีตอีกแล้ว  อาทิเช่น

1.1 ก้นสระถึงระดับกักเก็บน้ำไม่อยู่ในชั้นดินทึบน้ํา ทำให้มีน้ํารั่วซึมสูญหายออกไปได้  ในอดีตรอบๆ โครงการมีต้นไม้พันธ์ไม้เป็นจำนวนมาก ทำให้ดินทึบน้ำสามารถกักเก็บน้ำได้มากกว่าในปัจจุบัน  ปัจจุบันโครงการแหล่งน้ำ้มักตั้งโด่เด่ไร้ระบบนิเวศพืชที่หลากหลาย

1.2 ปริมาณการระเหยของน้ำเพิ่มขึ้นจากในอดีต 3 เท่า (หลังปี 2556)  แม้จะมีมาตรฐานกำหนดว่าความลึกของสระเก็บน้ํา ควรกําหนดให้เก็บน้ําลึกไม่น้อยกว่า 3.5 เมตร  แต่ผู้ออกออกแบบในปัจจุบันจะคิดระยะจากระดับน้ำไหลเข้า-ออก  ซึ่งระดับนี้อยู่พ้นชั้นดินทึบน้ำ 1-2 เมตร ทำให้มีระดับน้ำกักเก็บให้เราได้เห็นเป็นระยะเวลานานแค่ 1.5 เมตร

  1. ปริมาณน้ำที่สูญเสียทางอุกทกวิทยาจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ ซึ่งอุณหภูมิโดยเฉลี่ยสูงขึ้นปีละ 1.04 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 ทำให้น้ำในแหล่งน้ำมีการระเหยหรือการถ่ายทอดพลังงานความร้อนสู่อากาศเป็นจำนวนมากขึ้น  ทำให้ปัจจุบันเราจะมีปริมาณรน้ำ้ฝนส่วนเกินน้อยกว่าในอดีต 2 เท่า  ผู้ออกแบบมักไม่มีการคำนวณในส่วนนี้  ทำให้มีการออกแบบโครงการออกแบบให้เป็นโครงการที่รอกักเก็บปริมาณน้ำส่วนเกินเพียงอย่างเดียว (ปริมาณน้ำส่วนเกินคือปริมาณน้ำฝนที่ตก ลบด้วยปริมาณน้ำที่สูญเสียทางอุทกวิทยา) ทำให้มีโครงการที่เป็นอนุสาวรีย์รอน้ำเต็มปริมาณกักเก็บตลอดอายุใช้งานมากขึ้นมากขึ้น  ( https://www.bbc.com/thai/features-46389037 /  https://thaipublica.org/2019/02/global-warm-temperature-rise-2018-hottest-year/)

3.ปริมาณน้ำไหลเข้าไม่เป็นไปตามที่ออกแบบ ซึ่งคิดจากพื้นที่โดยรวม  แต่ส่วนใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงกายภาพในพื้นที่รองรับน้ำไหลเข้าโครงการแหล่งน้ำ ทำให้ปริมาณน้ำไหลเข้าเก็บในโครงการแหล่งน้ำน้อย

หมายเหตุ ที่กล่าวมาข้างต้นชี้เฉพาะโครงการที่พัฒนาสำหรับการเกษตรขนาดเล็ก เฉพาะครอบครัวจนถึงชุมชนหมู่บ้าน 2- 3หมู่บ้าน  ใช้ไม่ได้กับโครงการขนาดใหญ่ที่ตอบสนองความต้องการใช้น้ำหลายจังหวัดหลายอำเภอ หรือนาปรังหลายพันไร่

—————————-//////////////////////———————————–

Search