วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ด้วยประเทศไทยมีการพัฒนาในอัตราที่ต่ำ ทำให้ระบบราชการและกลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารกิจการบ้านเมือง ไม่อาจบูรณาการกันได้  สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลต่อสถานการณ์สาธารณภัยเป็นอย่างยิ่ง ก่อให้เกิดสนิมร้ายในงานสาธารณภัย ดังนี้

    1. ขาดกลไกและหลักเกณฑ์ที่ดีพอในการเตือนภัยที่เคลื่อนตัวคืบคลานเข้ามาสู่สังคม รวมทั้งเมื่อถูกกระทบหรือเกิดหายนะแล้ว การปรับเปลี่ยนกลไกการบริหารจัดการยังไม่มีประสิทธิภาพ (จ้องแต่แจก ๆ ๆ ซื้อ ๆๆ)

2. ความอ่อนด้อยและถดถอยในศักยภาพ (ขาดสมรรถนะ) ในบทบาทการศึกษา ค้นคว้า เสนอแนะนโยบายและแก้ไขข้อบกพร่อง (โดยเฉพาะหน่วยงานกลาง โยนไปให้แต่ละหน่วยงานเฉพาะเรื่องต่างๆ ต่างเสนอ)

3. ระบบการตัดสินใจและการบริหารจัดการขาดความโปร่งใส ส่งผลให้เกิดช่องทางหรือโอกาสในการฉ้อฉล ผิดจริยธรรมในวิชาชีพมากมาย

4.ประชาชนอ่อนด้อยในเรื่องข้อมูลข่าวสาร ทำให้ไร้สำนึกในการร่วมตัดสินใจหรือร่วมแก้ไขปัญหา (ไวและท่วมท้น แต่ไร้สาระ)

5.ปัญหาการทุจริต ประพฤติมิชอบยังถูกเพิกเฉย

การกำจัดสนิมร้ายเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้เกิดการขับเคลื่อนสังคมไปสู่ภาวะนิรภัยของสังคม