วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ในสถานการณ์ภัยพิบัติ  เราจะตัดสินได้ว่าการบริหารจัดการของรัฐราชการปรสิตมีธรรมาภิบาลหรือไม่  เราสามารถพิจารณาตามประเด็นเหล่านี้

  1. การสื่อสารและสื่อมวลชน: มีใส่ใจการสื่อสารที่ชัดเจนและนำเสนอเนื้อหาที่ถูกต้อง  และสื่อมวลชนสามารถเป็นช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูล  และให้คำแนะนำในการรับมือกับภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือเพื่อการทำความเข้าใจข้อมูลเพื่อวางแผนและปรับปรุงการรับมือ
  2. การรวบรวมข้อมูล: มีการใส่ใจรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ภัยพิบัติที่แม่นยำและรวดเร็วเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้สามารถตัดสินใจและวางแผนการรับมือได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ.
  3. การทำงานร่วมกันและความรับผิดชอบ: ให้ความสำคัญต่อการทำงานร่วมกันระหว่างรัฐบาลท้องถิ่น หน่วยงานภาคเอกชน และชุมชนในการรับมือกับภัยพิบัติ เพื่อให้มีการประสานงานและการกระจายสิทธิและความรับผิดชอบที่ชัดเจน
  4. การสนับสนุนและการช่วยเหลือ: ให้ความสำคัญต่อระบบสนับสนุนและการช่วยเหลือที่เต็มที่แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติเป็นสิ่งสำคัญ รวมถึงการจัดทำแผนการช่วยเหลือฉุกเฉินและการประเมินความต้องการของผู้ประสบภัย.
  5. การวางแผนและการทบทวน: ให้ความสำคัญต่อการวางแผนร่วมกันก่อนเกิดภัยพิบัติ และการทบทวนแผนงานเพื่อปรับปรุงในอนาคต เพื่อให้สามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ผ่านมาและเตรียมความพร้อมในอนาคตได้

ในหลายสถานการณ์ภัยพิบัติ หรือตั้งแต่รัฐราชการปรสิตได้ก่อตั้งหน่วยงานกลางด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขึ้นมาสูบงบประมาณแผ่นดินปีละ 7000 – 8000 ล้านบาท  ส่วนใหญ่ก็จะดำเนินการข้อ 1-4 พอได้ใช้เป็นข้อมูลอธิบายความชอบธรรมของการคงอยู่ของหน่วยงาน  ไม่แยแสต่อการดำเนินการตามข้อ 5 ที่ถือว่าหน่วยงานมีระบบธรรมาภิบาลมากที่สุด

Search