วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

โลกร้อนต้นเหตุสำคัญภัยพิบัติ

ผลจากสภาวะโลกร้อน ได้ทำให้ภัยพิบัติที่มักจะเกิดในพื้นที่ไม่กว้างใหญ่มากนัก  และไม่สร้างความเสียหายให้กับชีวิตและทรัพย์สินมากนักในอดีต  แต่ด้วยการเพิ่มขึ้นของอุณภูมิโลกโดยเฉลี่ย 0.85 องศาเซลเซียส ตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 19 (เริ่มสภาวะนี้ในปี 1960) วงจรภูมิอากาศของโลกนั้นสภาวะโลกร้อนเอาชนะปรากฎการณ์ที่โลกเย็นลงเนื่องจากเถ้าธุลีภูเขาไฟ นักวิชาการได้ตระหนักและเรียกร้องให้พวกเราจงพิจารณาวิถึการดำเนินชีวิตโดยเร่งด่วน

1. วิถึปัจเจกบุคคล

การบริโภคระดับบุคคลมีระดับการบริโภคนอกจากปัจจัย 4 เพิ่มขึ้น แต่รักษาอุณหภูมิโลกนั้นก็คงไม่ใช่แนวทางที่จะลดการบริโภค บริโภตที่มากที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน แนวทางสำคัญๆ ได้แก่

1.1 ที่อยู่อาศัย/อาคารใช้สอยที่ประหยัด

จำเป็นที่จะต้องลดทั้งขนาดและปริมาณ ซึ่งปัจจุบัน (ปี 2562 คนหนึ่งมีพื้นที่อาสัยเฉลี่ย 250 ตารางเมตร ซึ่งความต้องการจำเป็นในการดำรงชีวิตมาตรฐาน คนๆหนึ่งต้องใช้เพียง 90 ตารางเมตร หากช่วยกันได้จะลดการใช้พลังงานไฟฟ้า ประหยัดการใช้นำ้  การใช้วัสดุก่อสร้าง

1.2 การคมนาคมขนส่ง

ต้องหันมาเดินและใช้จักรยานให้มากขึ้น ซึ่งต้องใช้ความอดทนในการเปลี่ยนังเมืองและค่านิยมในการตั้งถิ่นฐาน การประกอบอาชีพในระยะที่ยาวนาน พร้อมทั้งเร่งหันมาใช้ยานพาหนะไฟฟ้าแทนยานพาหนะเชื้อเพลิงฟอสซิล

1.3 การท่องเที่ยว

ปริมาณการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 3 เท่า จากปี 2554 แต่รูปแบบลักษณะการท่องเที่ยวไม่มีประสิทธิภาพในการใช้และอนุรักษ์ทรัพยากรในการท่องเที่ยว เป็นการท่องเที่ยวที่ผลาญทรัพยากรเพิ่มขึ้น 1.8 เท่าจากปี 2554 ดังนั้น ระดับปัจจเจกต้องหันมามีทัศนคติในการท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวที่มีการคงสภาพหรืออนุรักษ์ธรรมชาติมากขึ้น

2. วิถึธุรกิจ

ความมุ่งมั่นต่อความยั่งยืนเป็นสิ่งที่ภาคประชาสังคมจำเป็นต้องเรียกร้องต่อองค์กรธุรกิจ ส่วนใหญ่ภาคธุรกิจจะทำเท่าที่จำเป็นและไม่ให้ผิดกฎหมายเท่านั้น  ซึ่งปัญหาคือกฎหมายมีช่องว่าง 2 ประการ คือ การบังคับใช้กับปฏิบัติตามกฎหมาย  ความล้าสมัยกับจิตสำนึกสาธารณะ  ประเด็นที่สำคัญที่ก่อให้เกิดภัยพิบัติ หากยังดำเนินการดังที่กล่าวมาข้างต้น ได้แก่

2.1 การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต

ในประเทศไทยที่เป็นตัวก่อปัจจัยภัยพิบัติ สำคัญ ได้แก่  รถบรรทุก  อาคารสิ่งก่อสร้างที่ไม่ประหยัดพลัง  และฟุ่มเฟือยใช้ประโยชน์ไม่คุ้มค่า  และการใช้ที่ดินที่ไม่คุ้มค่าและไม่เป็นไปตามหลักการผังเมืองรวม การเพาะปลูกไม่เหมาะสมกับพื้นที่ กฎหมาเน้นควบคุมประเด็นหลักๆ เพื่อป้องกันอันตรายต่อสารพิษ และความปลอดภัยในการทำงาน ส่วนประสิทธิภาพยังต้องขึ้นจิตสาธารณะ

2.2 นโยบายพันธบัตรเขียว

พันธบัตรเขียวภาครัฐยังติดกับดักหลายประการทั้งแรงกดดันแทรกแซงจากภาคธุรกิจ การขาดความรู้ความเข้าใจ ขาดผู้บริหารนโยบายที่มีวิสัยทัศน์ ไม่กล้าสร้างอุปสงค์และอุปทานเทียมขึ้น ทำให้โครงการลงทุนด้านสิ่งแวดล้อมในไทยล้มพับไปหลายโครงการ  สถาบันการเงินยังมีข้อกีดกั้นการลงทุน นโยบายพันธบัตรเขียวเมื่อบูรณาการกับกลไกระบบทุนนิยมจะสามารถกำจัดคาร์บอนมอนอกไซต์จำนวนมหาศาล พื้นที่กายภาพที่มีศักยภาพในการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติ

2.3 การใช้และพัฒนาประสิทธิภาพแบตเตอรี่

แบตเตอรี่สามารถผลิตจากต้นกำเหนิดที่หลากหลาย และแทบทุกครัวเรือนสามารถผลิดได้ ทุกองค์กรสามารถผลิตได้ คิดว่าภาครัฐยังไม่ให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง ด้วยกับดักหลายประการที่ภาคประชาชนจะต้องใส่ใจ อย่าปล่อยปละละเลยไปตามยถากรรม

3. วิถีเมือง

ด้วยประชากรโลก ประมาณ 4 พันล้านคนอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่เมือง

3.1 ถนนอัจฉริยะ

3.2 อาคารเขียว

3.3 การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน

4. วิถีประเทศ (อยู่ระหว่างการปรับปรุงข้อมูล)

แนวทางที่ต้องกลายเป็นนโยบายที่เชื่อถือร่วมกัน ได้แก่

4.1 การจำกัดและกักเก็บคาร์บอน

4.2 เพิ่มการใช้พลังงานนอกชายฝั่ง

4.3 การตั้งราคาคาร์บอน

4.4 การฟื้นฟูสภาพป่า

5. วิถีโลก

ความรู้ด้านวิศวกรรมดาวเคราะห์ จำเป็นที่ต้องกำหนดเป็นนโยบายที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกจะต้องมีความเชื่่อร่วมกัน ในด้านต่างๆ ต่อไปนี้

5.1 การกำจัดคาร์บอนไดออกไซต์ การกำจัดตามปกติที่หลุดลอยออกสู่อวกาศมีปริมาณไม่มากที่จะไม่ส่งผลกระทบต่อโลก การกำจัดในพื้นโลกจะมีต้นทุนตำ่กว่าและมีประสิทธิภาพกว่าเพิ่มการหลุดออกไปในอวกาศ เช่นการเพิ่มป่าไม้ การเพิ่มปริมาณแพลงก์ตอนโดยการโปรยฝุ่นผลเหล็กในทะเล

5.2 ละอองลอยในบรรยากาศชั้นสแตรโทสเฟียร์ หากมีปริมาณณมากจะช่วยสะท้อนแสงอาทิตย์ได้มาก แนวทางที่เป็นไปได้คือการฉีดอนุภาคซัลเฟตในชั้นบรรยากาศดังกล่าว

5.3 ม่านบังแดดอวกาศ สร้างแผ่นจานสะท้องแสงอาทิตย์ในอวกาศ

5.4 การปลูกเมฆเหนือทะเล โดยการพ่นไอน้ำในกลุ่มเมฆให้มีเมฆ จำนวนมากหรือขนาดใหญ่ขึ้จนสามารถสะท้อนแสงอาทิตย์กลับไปยังอวกาศ มากกว่าที่จะให้ตกกระทบผิวพื้นโลก โดยเฉพาะผิวน้ำทะเล

เครดิตภาพ : งาน Motor sale 2019 ไบเทค บางนา

—————555———–

Proudly powered by WordPress