วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

การสื่อสารความเสี่ยงกับการสื่อสารในภาวะวิกฤต

คนส่วนใหญ่จะมีการสื่อสารความเสี่ยงอยู่เป็นประจำ โดยจะประเมินความเสี่ยง (risk assesement) อย่างอัตโนมัติ และมีความต้องการที่จะจัดการความเสี่ยง (risk management) มิให้ตนเองได้รับผลกระทบหรือได้รับอันตราย ที่กล่าวมานั้น บางคนไปทักถักทอว่าเป็นการสื่อสารในภาวะวิกฤต  ซึ่งการสื่อสารในภาวะวิกฤตมีความละเอียดลึกซึ้งมากกว่าการสื่อสารความเสี่ยง

การสื่อสารในภาวะวิกฤต จะมีองค์ประกอบและลักษณะพิเศษ ต่างจากการสื่อสารความเสี่ยง ดังนี้

1.ไม่มีการสื่อสารที่เป็นผลการประเมินความเสี่ยงของปัจเจกบุคคล ความเสี่ยงที่จะสื่อสารต้องมีกระบวนการประเมินที่เป็นที่ยอมรับ หรือมีผลการศึกษาความแม่นยำความน่าเชื่อถือของเครื่องมือวัดประเมิน

2.สื่อสารให้รู้ว่าคนส่วนใหญ่จะประสบกับสถานการณ์อย่างไร เท็จจริงอย่างไร และจะร่วมกันหรือเห็นชอบมอบหมายให้มีการดำเนินการป้องกันแก้ไขอย่างไร ถ้าไม่ทำไม่ให้ความร่วมมือจะเกิดอะไรขึ้น ดังนั้นสารที่สื่อออกไปต้องสามารถเข้าถึงได้ทุกกลุ่ม

   3.มีกระบวนการประเมินผลสะท้อนกลับว่าผู้รับสารตอบสนองต่อสารที่สื่ออย่างไร เป็นไปตามที่ผู้ส่งสารต้องการหรือไม่  ทุกคนให้ความร่วมมือกันขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่  มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนไปอย่างไรบ้าง

Search

Social

Facebook : <a href="https://www.facebook.com/profile.php?id=61555375088440"

Instagram

Twitter