วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

หนีการกักตัวควบคุมโรคระบาด

 

ในช่วงปี 2563 ประเทศไทยประสบปัญหาไวรัสโคโรน่าระบาด ซึ่งมีแหล่งแพร่จากภายนอกประเทศหลายๆ ประเทศ  จากประเทศเอเซียตะวันออก จากประเทศปากีสถาน ประเทศอังกฤษ ประเทศสเปน ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศมาเลเซีย ประเทศอิหร่านและจากประเทศอิตาลี แม้จะรู้ว่าต้นเหตุมาจากอะไร แต่มาตรการที่นำสู่ปฏิบัติในการกักตัวผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศก็ไม่ได้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

เริ่มแรกอาจจะเป็นความร่วมมือ เจ้าหน้าที่ไม่ได้ใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 ที่เด็ดขาด  ทำให้มีผู้ฝ่าฝืนไม่ยอมกักตัว เดินทางกลับบ้านเดิม ภาครัฐก็ต้องทำหนังสือไปให้หน่วยงานภาครัฐในท้องถิ่นดำเนินมาตรการติดตามเฝ้าระวังต่อไป

เมื่อมี พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 2) การหลบหนีหลีกเลี่ยงมาตรการกักตัว ถือเป็นความผิดเพราะต้องห้าม และถือว่าเป็นความผิดโดยแท้อีกด้วย

ความผิดโดยแท้นั้นเปรียบเหมือนว่า ทุกคนต้องรู้ว่ามันผิดเป็นเสียงเดียวกัน เหมือนกับที่ทุกคนย่อมรู้ว่าไฟนั้นร้อน น้ำแข็งนั้นเย็น เป็นต้น แม้ความผิดโดยแท้จากการหนีมาตรการกักตัวอาจจะไม่ก่อให้รู้สึกว่าเป็นบาปกรรม  และอาจจะมองไม่เห็นคุณค่าตรงข้ามเลยก็ได้ คือคุณงามความดีต่อผู้อิ่น

ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หากการดำเนินการใดไม่แน่ชัดว่าเป็นความผิดโดยแท้ หรือระเบียบกฎหมายไม่ได้ระบุไว้ว่าเป็นความผิดเพราะต้องห้ามแล้ว จำเป็นที่ต้องมีการถกเถียงแลกเปลี่ยนว่าเรื่องนั้นประเด็นนี้มีผลเสียอย่างไร รบกวนสังคมหรือส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของการอยู่ร่วมกันในขอบเขตของแต่ละคนอย่างไร ข้อดีข้อเสียได้สัดส่วนกันหรือไม่ เราจะลดผลกระทบร้ายๆในเรื่องนั้นอย่างไรกัน

แต่ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น

1.เราปล่อยให้คนกลุ่มหนึ่งผูกขาดและคอยชี้ว่าสิ่งใดทำได้สิ่งใดทำไม่ได้ ภายใต้อำนาจใน พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 หรือ พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2558 หรือใน พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ทำให้เกิดกระบวนการบังหน้า กล่าวคือช่วยไปงาบไป เมื่อคิดโดยรวมแล้วประชาชนแทบจะไม่ได้รับการช่วยให้เข้มแข็งขึ้น แม้จะได้รับการช่วยเหลือ  และกระบวนการมันง่ายซะด้วย เพราะต้องเร่งด่วนทันความต้องการความช่วยเหลือ ประเทศชาติสูญเสียมากกว่าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ในอัตราส่วน 80 : 30 เลยทีเดียว (เงิน 100 บาท ช่วยไปงาบไป 80 ช่วยจริง 20  ถ้าพวกโครงสร้างพื้นฐานจะโดนงาบประมาณ 30 ดำเนินการ 70)

2.ขาดการพัฒนามุมมองหรือสำนึกแห่งความผิดโดยแท้ งบประมาณที่ดำเนินการจากเจ้าหน้าที่รัฐส่วนใหญ่อยู่บนพื้นฐานว่าประชาชนไม่มีความรู้จึงมาบอกให้รู้ก็ได้สัมฤทธิผลแล้ว (อุทกภัยคืออะไร องค์ประกอบไฟมีอะไรบ้าง ฯลฯ) ที่ร้ายกว่านั้นก็พ่วงมาบอกภารกิจของตนเองเป็นชั่วโมงสองชั่วโมง (ไม่รู้จะมาบอกทำไม ทั้งที่ตัวเองแม่งก็ทำงานเฉพาะตัวเองบูรณาการทำงานร่วมกับภาครัฐหน่วยอื่นแทบจะไม่ได้ ได้แต่บูรณาการสั่งการตามชั้นบนลงล่าง)

—————————–/////////////////———————————-

Proudly powered by WordPress