วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

การควบคุมโรคต้องใช้กฎแข็ง กฎอ่อนใช้สำหรับอบรมบ่มนิสัย

 

มีผู้เชี่ยวชาญการจัดการภัยพิบัติออกมากล่าวว่า “สังคมไทยขาดวินัยเรื่อง กฎอ่อน (Safety Culture) เราขับรถฝ่าฝืนกฎอ่อนทั้งหมดที่มี ไฟเหลืองคุณหยุดไหม เส้นประคุณไปไหม ป้ายเหลืองหยุดคุณชะลอไหมก็ไม่ การควบคุมโรคมันต้องใช้กฎอ่อน และรัฐบาลทำให้มันไม่อ่อนด้วยการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน” https://themomentum.co/interview-tavida-kamolvej/?fbclid=IwAR33cQOlE-6PW1ySeqZ8HPigbG-A9riynIFp52IWsrPNJOJ0c0sWd5eIZ_M

ผมเห็นว่าเป็นความคิดเห็นที่เพี้ยนไปสุดกู่ไปจนแทบจะเป็นตรรกะวิบัติ เปรียบเหมือนว่า สังคมไทยขาดวินัยเรื่องกฎอ่อน  รัฐบาลมั่วไปทำให้มันไม่่อ่อนด้วยการยกเลิกการใช้สี่แยกสามแยกที่มีผู้ไม่ยี่หระต่อการฝ่าฝืนกฎอ่อนอย่างนั้นหรือครับ

และการควบคุมโรคมันต้องใช้กฎอ่อน กระนั้นหรือครับ  มันจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้กฎแข็งครับ (แต่แข็งเฉพาะคนที่เป็นโรคนะครับ หรือคนมีเชื้อในตัวนะครับ) ไม่ต้องนักวิชาการหรอกครับ ถามชาวบ้านดูเขาจะมองว่ามันควรจะใช้การเข้มงวดกวดขันอย่างยิ่งยวด แต่ก็ไม่ใช่มีกฎที่เข้มงวดยิ่งอย่าง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน กลับไม่มีมาตรการเชิงรุกที่มีประสิทธิภาพ ไม่ส่งผลกระทบในวงกว้าง  เหตุผลที่ต้อใช้กฎแข็ง เพราะ

1.ถ้ามีการแพร่ระบาดกระจายออกไปสู่วงกว้าง  หายนะจะมากกว่าขับซิ่งบนถนนแล้วตาย  มากกว่าลุ่มน้ำมีน้ำหลากไหลบ่าสร้างความเสียหายตลอดทางไปสู่่ที่ลุ่มต่ำ

2.มองไม่เห็นเหมือนนำ้ เหมือนไฟ เหมือนความเร็ว เหมือนกลิ่นที่มนุษย์เรารับรู้ได้ จะมานั่งจะจ๋าให้แนวกว้างๆทุกจังหวัดไปนั่งประชุมพิจารณาสีเขียวเหลืองแดง มีแนวทางปฏิบัติเดียวกันแบบเข้มงวดทั้งประเทศตัดวิถีชีวิตแบบเดิมๆ แบบท้องถิ่น การจัดการแบบท้องถิ่นทิ้งไปเลย (เฉพาะคนที่มีเชื้อหรือคนที่เป็นโรค)

มาตรการล๊อกดาวน์ไม่ใช่ให้คนนอนตีพุงอยู่บ้าน แล้วหยุดวงจรเศรษฐกิจแทบจะทุกอย่าง บนพื้นฐานสมมติฐานว่าทุกคนเป็นคนติดเชื้อหมดในลักษณะนี้  ควรจำกัดวงการใช้มาตรการเข้มงวดในกลุ่มที่มาจากต่างประเทศต่างพื้นที่เท่านั้น คนที่สัมผัสผู้ป่วย ผู้ที่อยู่ในสถานที่เดียวกันกับผู้ป่วย ต้องตรวจกรองให้รู้แน่ชัดโดยตั้งชุดเฉพาะกิจตามตรวจให้ครบ ไม่ใช่ตั้งด่านจับเช่นที่ทำกันทุกวันนี้

อีกทั้งสถานที่ที่มีคนมารวมตัวกันเยอะ แต่ก็มีพื้นที่ที่จะสามารถอยู่ห่างกันได้เกิน  2 เมตร  ยังสามารถมีวิถีชีวิตเดิมต่อไปได้ เพียงแต่ต้องมีมาตรการป้องกัน เช่น สวมหน้ากาก ล้างมือ ตรวจวัดอุณหภูมิ

แต่อย่างไรก็ตาม กฎแข็งก็ไม่ใช่ประกาศเคอร์ฟิวส์และจับปรับโทษสถานหนักคนฝ่าฝืนเคอฟิวส์ ถ้าเขาอยู่ห่างคนอื่น มีการป้องกันการแพร่เชื้อก็ไม่ควรใช้กฎแข็งในกรณีนี้ แต่ใช้กฎแข็งกับคนเป็นโรคแล้วไม่อยู่กักตัวทั้งในสถานที่ที่รัฐกำหนดหรือสถานที่ส่วนตัวของตนเอง

กฎอ่อนเขาใช้สำหรับการอบรมบ่มนิสัย สร้างการสื่อสาร  โดยมากก็ใช้เฉาะเด็กๆ  เยาวชนก็จะเป็นแบบไฮบริด จะใช้กฎอ่อนก็จะไม่มีประสิทธิภาพแล้ว

—————————/////////////////—————————-

Proudly powered by WordPress