วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

จุดกำเหนิดการจัดการภัยพิบัติในชุมชน

จุดกำเหนิดของการจัดการภัยพิบัติในชุมชน ได้ถือกำเหนิดขึ้นจากแนวคิดในการดำเนินงานลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติของชุมชน  ที่จะบรรลุุเป้าหมายต้องเห็นสิ่งต่างๆ  เหล่านี้เกิดขึ้นในชุมชน ซึ่งประกอบด้วย

๑ มีกระบวนการเกิดขึ้น  เริ่มตั้งแต่คิดจะแก้ปัญหา/คิดที่จะพ้นจากภัยพิบัติ

๒.มีการขับเคลื่อนเกิดขึ้น  เริ่มตั้งแต่มีแรงดลใจ หรือแรงบันดาลใจเกิดขึ้นภายในจิตใจ เมื่อร้อนรนจนถึงระดับหนึ่ง ก็จะเกิดการขับเคลื่อนอื่นๆ ตามมา

๓.มีการโครงการเกิดขึ้น  เริ่มต้นจากโครงการเล็กๆ ที่เป็นโครงการบำบัดความต้องการหรือปัญหาของตนเอง

๔.มีวิธีการเกิดขึ้น เริ่มต้นตั้งแต่ออกไปร่วมกันรับทราบ ร่วมกันคิดบำบัดความต้องการร่วมกัน

เทคนิคของส่วนราชการในการเข้าไปมีส่วนร่วม

ปัจจุบันส่วนราชการมักเข่้าไปมีส่วนร่วมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านโครงสร้างบริการพื้นฐาน(Instrumental goal)  แต่ไม่เน้นเป้าหมายที่เป็นสุดยอด(Ultimate goal) ที่เป็นการพัฒนาคนให้มีความสามารถมีทักษะในการปรับปรุงสร้างสรรค์แก้ปัญหาด้วยตนเอง ให้พึ่งตนเองได้ดี  ซึ่งหลักการสำคัญในการบรรลุเป้าหมายสุดยอด ประกอบด้วย

๑. การช่วยเหลือตนเอง

๒.การให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุดเท่าที่จะทำได้

๓.ความคิดริเริ่มของประชาชน ต้องสนับสนุนให้เกิด  และเมื่อเกิดขึ้นแล้วต้องให้ความสำคัญ

๔.หลักประชาธิปไตยในการดำเนินงาน ต้องรับผิดชอบร่วมกัน ไม่แบ่งชนชั้นวรรณะ

๕.ความต้องการของชุมชน

๖.ทรัพยากรที่เป็นคุณค่าในชุมชน  เป็นทุนในชุมชน

๗.มีความเข้าใจวัฒนธรรมชุมชน

—————————////////////////—————————–

Proudly powered by WordPress