วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

การช่วยเหลือภัยแล้ง : การวัดความแห้งแล้ง

การให้ความช่วยเหลือภัยแล้ง ประเทศไทยประเมินจากรายงานความต้องการ http://dn.core-201650_1.pdf มาใช้ในการตัดสินใจใช้งบประมาณในการดำเนินมาตรการช่วยเหลือด้านต่างๆ ที่ดูแปลกแยกไปจากสภาพสังคมอย่างยิ่ง อย่างเช่น ใช้จ่ายงบประมาณช่วยเหลือในการฝึกอบรมอาชีพเสริมในช่วงภัยแล้ง (ผ่านการอบรมแล้วก็ไม่มีระบบกลไกส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง ทำให้แทบไม่เกิดการนำไปประกอบอาชีพในหมู่ประชาชนผู้ประสบปัญหาภัยแล้งเลย)

แนวทางในการวัดประเมินความแห้งแล้ง เพื่อวางแผนให้การช่วยเหลือควรเปลี่ยนแนวทางเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการประหยัดงบประมาณใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ วิธีการวัดประเมินที่ควรใช้ คือการวัดความชื้นในดินบริเวณรากพืชและการกักเก็บน้ำใต้ดินตื้น เพื่อพิจารณาการจัดทำแผนงานโครงการ ยกเว้นความต้องการใช้นำ้อุปโภคบริโภคก็พิจารณาจากรายงานความต้องการของประชาชนในพื้นที่ต่างๆ เนื่องจากรู้ความต้องการจำเป็นความต้องการใช้นำ้ได้จากปริมาณน้ำที่สำรองไว้ใช้ในครัวเรือน

แต่ในปัจจุบันประชาชนในหลายๆ พื้นที่ก็เปลี่ยนวิถีชีวิตไม่มีการสำรองน้ำอุปโภคบริโภคจากฝนที่ตกในฤดูฝน ใช้ชีวิตพึ่งพิงระบบประปาของหมู่บ้าน ซึ่งจากฐานข้อมูล จปฐ.ของกรมพัฒนาชุมชน มีหมู่บ้านที่ไม่มีระบบน้ำประปาเพียง 3,925 หมู่บ้าน  จากหมู่บ้านทั้งหมด 75,032 หมู่บ้าน

ทั้งนี้ การวัดความชื้นในดินบริเวณรากพืช ต้องซื้อข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมที่มีการตรวจจับการเคลื่อนที่ของน้ำตามสนามโน้มถ่วงของโลก GRACE ทำการวัดแรงโน้มถ่วงที่ละเอียดอ่อนในแต่ละเดือน ความแปรปรวนของภูมิประเทศหรือกระแสน้ำในมหาสมุทรเปลี่ยนการกระจายตัวของมวลโลก การเติมหรือลบน้ำก็เปลี่ยนสนามโน้มถ่วงด้วยเช่นกัน ข้อมูลเหล่านั้นจะถูกรวมเข้ากับการสำรวจภาคพื้นดินอื่น ๆ โดยใช้แบบจำลองเชิงตัวเลขของกระบวนการน้ำและพลังงานที่ผิวดิน

สำหรับข้อมูลการกักเก็บน้ำใต้ดินตื้น https://www.scimath.org/lesso ซึ่งกรมทรัพยากน้ำบาดาล ได้สำรวจรวบรวมข้อมูลนำ้บาดาลไว้ทั่วประเทศ

——————///////////////////————————

Proudly powered by WordPress