วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

วิกฤตภัยแล้งในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

สิ้นสุด ปี พ.ศ.2562 ประเทศจีนสร้างเขื่อนกั้นแม่นำ้โขงแล้วเสร็จไปแล้ว  10 แห่ง  และภายในปี พ.ศ. 2570 จะสร้างอีก 18 แห่ง  รวมทั้งสิ้น  28 แห่ง  การดำเนินการดังกล่าวสร้างผลกระทบมหาศาลต่อระบบนิเวศแม่น้ำโขง  ใน 6 ประเทศ  https://thestandard.co/mekong-river-dam/ ผลกระทบรุนแรงที่นับจากนี้ระบบนิเวศเดิมของแม่น้ำ้ดขงจะเปลี่ยนจากเดิมตลอดกาลจวบจนวันสิ้นโลก หรือวันที่ทุบเขื่อนทั้ง 28 แห่งของจีนทิ้งไป

ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะผลกระทบด้านวิกฤตภัยแล้งที่จะเกิดขึ้นในประเทศพม่า ลาว ไทย เขมรและประเทศเวียดนาม  https://www.bbc.com/thai/thailand-49072092 ซึ่งหนทางเดียวที่มีประสิทธิภาพที่จะบรรเทาปัญหาได้มากที่สุด คือแต่ละประเทศก็จะต้องสร้างเขื่อนกักเก็บนำ้ในแม่น้ำโขงเช่นเดียวกับประเทศจีน  แนวทางอื่นก็จะเป็นเพียงแนวทางการบรรเทาปัญหาภัยแล้งให้ลดลงได้เล็กน้อย เช่น การผันนำ้เข้ากักเก็บในพื้นที่ประเทศของตัวเอง อย่างเช่นประเทศไทยก็จะต้องดำเนินการโขง-ชี-มูล ให้เห็นเป็นรูปธรรม (เขื่อนและอ่างเก็บน้ำในภาคอีสาน ไม่มีน้ำเต็มระดับกักเก็บมานานหลายปีแล้ว)

ลักษณะภัยแล้งที่เกิดขึ้นจากการเกิดขึ้นของเขื่อนในประเทศจีน https://transbordernews.in.th/home/?p=8748 ทำให้ 5 ประเทศตามลุ่มน้ำ้โขงเกิดความแห้งแล้งเชิงอุทกวิทยาเกิดขึ้น ลักษณะความแห้งแล้งที่พอจะคาดการณ์ได้ ได้แก่

1.มีระดับน้ำที่ลดต่ำจนถึงขั้นแห้งขอดจนเห็นสันดอนทรายเป็นระยะทางหลายกิโลเมตร ระดับน้ำที่จุดร่องน้ำลึกเหลือเพียง 1.0-2.0 เมตร

2.ปัญหาน้ำเค็มจากทะเลเข้าทำลายพื้นที่เพาะปลูก ในประเทศเขมร  รวมทั้ง การสลับทิศทางการไหลของแม่น้ำสำคัญในประเทศเขมรเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจจะตลอดกาล ก่อให้เกิดความแห้งในพื้นที่ชุ่มน้ำในประเทศเขมรหลายล้านตารางกิโลเมตร

3.ปัญหาขาดแคลนน้ำดิบในการทำน้ำประปาบริการประชาชนทั้งอุปโภคบริโภคและอุตสาหกรรม

4.ปริมาณน้ำที่ลดลง จะทำให้จำนวนพันธ์พืช พันธ์ปลาชนิดต่างๆ  ลดจำนวนลงก่อให้เกิดปัญหาภัยแล้งเชิงเศรษฐศาสตร์ตามมา พันธุ์ปลาอย่างน้อย 1,100 ชนิด ส่งผลให้เป็นแหล่งประมงน้ำจืดขนาดใหญ่ซึ่งมีปริมาณการจับปลามากกว่า 2.6 ล้านตันต่อปี ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 25 ของปริมาณการจับปลาน้ำจืดทั่วโลก นอกจากนี้ลุ่มน้ำโขงยังเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมากกว่า 430 ชนิด สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกกว่า 800 ชนิด นก 1,200 ชนิดพันธุ์ และพันธุ์พืชอีกกว่า 20,000 ชนิด ในทุกปี นักวิทยาศาสตร์จะระบุชนิดพันธุ์ใหม่ๆ ที่ได้รับการค้นพบเพิ่มขึ้นและระบุถึงจำนวนชนิดพันธุ์ที่ยังคงรอการค้นพบ โดยในระหว่างปี พ.ศ.2540 ถึง พ.ศ.2557 มีชนิดพันธุ์ใหม่ที่ได้รับการค้นพบมากถึง 2,216 ชนิดพันธุ์

ดังนั้นแนวทางการแก้ไขปัญหาความแห้งแล้งเชิงอุทกวิทยา จึงควรดำเนินมาตรการใหม่  ลำพังประเทศแผนรับมือวิกฤตภัยแล้งที่หน่วยงานภาครัฐใช้แบบขายผ้าเอาหน้ารอดไปวันๆ โดยที่ไม่มีการประเมินผลการขับเคลื่อน ไม่มีการประเมินประสิทธิภาพและความต่อเนื่องของแผน ประชาชนผู้เสียภาษีบำรุงเลี้ยงดูก็จะแบกรับปัญหาจนกลายเป็นผู้ประสบภัยพิบัติขยายใหญ่ขึ้นใหญ่ขึ้น กล่าวได้อย่างถูกต้องว่าถ้ายังคงใช้แผนรับมือวิกฤตภัยแล้งรูปแบบเดิมๆ ก็จะทำให้ประเทศประสบปัญหาภัยแล้งรุนแรงขึ้น

อีกทั้งยังขาดวิสัยทัศน์ที่จะเตรียมรับมือผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของโลก เห็นได้จากนโยบายของรัฐบาล 84.000 เซล กับหน่วยงานนำ้ตั้งใหม่ใช้งบประมาณปีละประมาณ 1,000 ล้านบาท ดำเนินโครงการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ปีละหลายแสนล้าน https://siamrath.co.th/n/130573 เป็นโครงการใหญ่ๆ 81 โครงการ (ปี 2563 อยู่ในช่วงศึกษาและรับฟังความคิดเห็น) โครงการทั้งหมด มีวัตถุประสงค์เพื่อนำน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำต่างๆในภาคกลางและภาคเหนืออกสู่อ่าวไทยให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ไม่ส่งผลกระทบต่อพี่น้องประชาชน ฟังดูดีเหมือนกับเซลสมอง 84,000 เซลนั้นแหละ เพราะอะไร ก็เพราะปัญหาจากความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของโลก

นักวิทยาศาสตร์บางสำนักก็ยังมีผลงานทางวิชาการออกมาว่า ภายใน 30 ปี ข้างหน้า กรุงเทพมหานครและปริมณฑลจะถูกน้ำทะเลท่วมเกือบร้อยละ 80 ของพื้นที่ทั้งหมด  แต่เอาเป็นว่าไม่มีวันจมน้ำทะเลตามที่นักวิทยาศาสตร์อ้างว่า AI พยากรณ์ให้  แต่จะเกิดอะไรขึ้น ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นหรือนำ้ทะเลมีมากขึ้น แล้วโครงการ 84,000 เซลที่จะนำน้ำออกสู่อ่าวไทยก็จะกลายเป็นอนุสาวรีย์ เหมือนกับอนุสาวรีย์ประชาธิไตย

แนวทางที่ควรจะดำเนินการของประเทศไทย

1.โครงการโขง-ชี-มูล

2.โครงการเขื่อนระหว่างประเทศกั้นแม่น้ำโขง https://themomentum.co/price-to-pay-xayaburi-dam/

2.โครงการสะพานลุ่มน้ำเหนือ-กลาง-ตะวันตก-อีสาน-ตะวันออก แทนที่จะมุ่งลงสู่อ่าวไทย ก็ให้กระจายเข้าสู่พื้นที่ของประเทศให้ระเหยไปบนผืนดิน บนเขื่อน/อ่างเก็บน้ำ/หนอง/คลอง/บึง/คลองส่งน้ำในพื้นที่ต่างๆ

———————–5————————————

Proudly powered by WordPress